กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้
รหัสโครงการ 67-L1497-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 55,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิโรจน์ ปราบรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2566 30 ก.ย. 2567 55,000.00
รวมงบประมาณ 55,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ 1ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป ข้อ 10 กำหนดว่า “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่งในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินเพิ่มตามข้อ 7 วรรคสองอาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ประกอบกับหลักเกณฑ์การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทำบัญชีและรายงาน หมวดที่ ๓ ค่าตอบแทนการประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ 1. ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับกรรมการหรือที่ปรึกษา ไม่เกินครั้งละ 400 บาทต่อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน 800 บาท 2. ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับอนุกรรมการ ไม่เกินครั้งละ 300 บาทต่อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน 600 บาท 3. ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะทำงาน ไม่เกินครั้งละ 200 บาทต่อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน 400 บาท 4. ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับบุคคลภายนอกซึ่งเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนหรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนได้เท่ากับกรรมการ หรืออนุกรรมการ หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี 5. ค่าตอบแทนสำหรับเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพที่เข้าร่วมประชุม หรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ให้เบิกจ่ายในอัตราเท่ากับกรรมการหรืออนุกรรมการ หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี 6. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เบิกจ่ายได้ในอัตราไม่เกินระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยการอนุมัติของประธานกรรมการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงสถานการณ์คลังของกองทุนฯ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ ขึ้นในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ตลอดจนรับทราบเเละติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ

จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนฯ และบันทึกรายงานการประชุมทุกครั้ง

2 เพื่อให้มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาสตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

การบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

3 เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 35 55,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนฯ 20 32,000.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาและกลั่นกรองโครงการ 5 6,000.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 10 12,000.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม 0 3,500.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุสำนักงาน 0 1,500.00 -

ขั้นตอนการวางแผน 1.1 ร่วมประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน 1.2 กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.1 ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการเพื่อกำหนดนัดหมาย 2.2 จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน 2.3 จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน อาหารว่างและเครื่องดื่ม หรืออาหารกลางวัน 2.4 จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด 3.1 จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนฯ จำนวน 20 คน อย่างน้อยรวม 4 ครั้งต่อปี และบันทึกรายงานการประชุมทุกครั้ง 3.2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ดังนี้ 3.2.1 คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาและกลั่นกรองโครงการ จำนวน 4 คน มีการประชุมเพื่อพิจารณาและกลั่นกรองโครงการ ประมาณ 4 ครั้งต่อปี 3.2.2 คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 10 คน มีการประชุมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง เบิกเงินค่าตอบแทนการประชุมเพื่อจ่ายให้กับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ ที่เข้าร่วมประชุม เบิกเงินค่าเดินทางไปราชการตามระเบียบของทางราชการฯ ตามที่จ่ายจริงให้แก่ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ จัดซื้อวัสดุสำนักงาน อุปกรณ์และเครื่องเขียนที่จำเป็นต้องใช้ในสำนักงานเลขานุการกองทุนฯ สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ตลอดจนรับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ 2.มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน 3.การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2567 13:31 น.