กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero waste school)
รหัสโครงการ 67-L7012-2-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปะแดลางา
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหนิมะ เดหนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนและโรงเรียนบ้านปะแดลางา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและโรงเรียน อาทิเช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญ ทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดู สกปรก น่ารังเกียจ ขยะทำให้น้ำเสียเกิดกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียนและประชาชน องค์การอนามัยโลก(World Health Organization: WHO) ได้ให้ความหมายแก่ขยะมูลฝอยไว้ว่า คือสิ่งของจากบ้านเรือนที่ประชาชนไม่ต้องการแล้วมีผู้นำไปใช้ประโยชน์ จนสุดท้ายไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว  และถูกทิ้งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำจัดจัดเก็บ และขนส่งนั่นหมายความว่าสิ่งของที่เราทิ้งจากที่บ้าน ถ้ายังมีคนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ สิ่งนั้นก็จะยังไม่ใช่ขยะ จากความหมายดังกล่าวได้รับการตอกย้ำด้วยแนวคิดที่เห็นคุณค่าจากขยะดังเช่น“พอเพียง = enough” “ขยะคือทรัพยากร” การใช้ทรัพยากรอย่างพอดีเห็นคุณค่าบวกกับการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับวัสดุเหลือใช้ที่มีรอบบ้าน เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะ นอกจากนี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก และรณรงค์การคัดแยกขยะประเภทขยะมูลฝอยที่ต้นทางให้แก่นักเรียนและเยาวชนในโรงเรียน และสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัด
โรงเรียนบ้านปะแดลางา มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1๔๑ คน ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา  1๓ คน รวมทั้งสิ้น 1๕๔ คน เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ รวมทั้งต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงจัดทำโครงการ “โรงเรียนปลอดขยะ” ขึ้น ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกการลดขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในโรงเรียน การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ครูนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ และปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง 2 ครูนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา มีระบบการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 10:18 น.