กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กไทยอนามัยดี โรงเรียนวัดนาหม่อม
รหัสโครงการ L3332
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 พฤษภาคม 2567 - 24 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 12,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ฟันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายและเป็นส่วนประกอบสำคัญของใบหน้าคนเราใช้ฟันสำหรับบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ใช้ในการออกเสียงให้ชัดเจน และช่วยทำให้ใบหน้าของเราดูสวยงาม ดังนั้นเราจึงควรดูแลสุขภาพของฟันและเหงือกให้ดีโดยควรตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากได้ดีที่สุด ดีกว่ารอให้เกิดโรคแล้วจึงทำการรักษาซึ่งจะทำให้เสียทั้งเวลาค่าใช้จ่ายและอาจสูญเสียฟันไปด้วย
เด็กในช่วงวัยเรียนนั้นจะเริ่มมีฟันแท้ขึ้นในช่องปาก ซึ่งในเด็กกลุ่มนี้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองได้แล้วแต่ยังขาดความรู้และความเข้าใจ จึงจะต้องมีผู้ปกครองหรือคุณครูเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการดูแล ทั้งนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้ชอบกินขนมขบเคี้ยว ลูกอม น้ำอัดลม จึงเป็นสาเหตุทีอาจทำให้เกิดฟันผุได้
อีกโรคหนึ่งคือโรคเหาเป็นโรคที่มักเกิดกับเด็กในวัยเรียนระดับประถมศึกษาและระดับอนุบาล ตัวเหาเป็นแมลงชนิดหนึ่ง การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสโดยตรง สัมผัสเสื้อผ้า ผ้าปู ที่นอน หมวก ที่แต่งผมและหวี เป็นต้น พบบ่อยในเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง เริ่มแรกเหาจะวางไข่ชิดหนังศีรษะ และเมื่อผมยาวขึ้นไข่เหาจะถูกเลื่อนสูงขึ้นไปด้วย ตัวเหาสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายมนุษย์ได้นานถึง 4 วันในสภาวะอุณหภูมิห้องปกติ และไข่เหาสามารถอยู่ได้นานถึง 10 วันนอกร่างกายเป็นโรคติดต่อง่าย มักพบว่าเป็นกันทั้งครอบครัวหรือระบาดอยู่ในชุมชน ผู้ป่วยจะมีอาการคัน เกิดเป็นตุ่มคัน บริเวณที่ติดเชื้อเหา ซึ่งพบมากที่ศีรษะ แต่อาจพบได้ที่อื่น เช่น บริเวณเครา ในรายที่เป็นมานาน หรือมีอาการรุนแรง จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมที่ผิวหนังและมีต่อมน้ำเหลืองข้างคอและท้ายทอยโต จากการตรวจสุขภาพประจำปีของนักเรียน ร.ร.วัดนาหม่อมทุกปี ตั้งแต่ปี2563 -2566 พบว่า ร้อยละ 80 ของนักเรียนเพศหญิงเป็นโรคเหา     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน เห็นว่าปัญหาดังกล่าว ควรได้รับการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที จึงได้ทำโครงการเด็กไทยอนามัยดี โรงเรียนวัดนาหม่อม ขึ้น เพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนโดยมีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ เด็กนักเรียน โดยเน้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเป็นหลักสำคัญพร้อมทั้งอธิบายการเลือกรับประทานอาหาร รวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมสำหรับวัยต่างๆอีกทั้งยังมีการรณรงค์การเคลือบฟลูออไรด์ให้แก่เด็ก รวมไปถึงทั้งค้นหา ตรวจคัดกรอง และให้ความรู้นักเรียนเรื่องโรคเหา และทำการบำบัดรักษาโรคเหาให้กับนักเรียนที่เป็นเหา เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นให้น้อยลงจนไม่กระทบกับสุขภาพของนักเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน มีความรู้เรื่อง โรคในช่องปากและการดูแลช่องปากได้อย่างถูกต้อง

1.นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคในช่องปาก และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้

2 2.เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นของนักเรียน

2.นักเรียนได้รับการตรวจช่องปากและได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม

3 3.เพื่อค้นหานักเรียนที่เป็นโรคเหา และทำการบำบัดรักษาโรคเหาแบบหมู่

3.นักเรียนมีความรู้และรับการตรวจโรคเหาและทุกคนที่เป็นโรคได้รับการบำบัด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียน ได้รับความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและแปรงฟันถูกวิธี     2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก     4. นักเรียนได้รับการอบรมเรื่องโรคเหา     5. นักเรียนที่เป็นเหาได้รับการบำบัดรักษา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 13:19 น.