กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนการบริโภค ลดความเสี่ยง เลี่ยงไตวาย ประจำปี พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L4141-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 พฤษภาคม 2567 - 9 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 29,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวขนิษฐา แพมิ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคไตกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในระดับทั่วโลกในรอบ 10ปีที่ผ่านมา ข้อมูลในทางสถิติในประเทศไทยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนไข้ระยะ 3-4 ที่ใกล้จะต้อง “ล้างไต” หรือระยะที่ 5ซึ่งในแต่ละปีมีคนไข้ที่ต้องล้างไตรายใหม่ประมาณ 7,000-8,000 รายปัจจุบันมีคนไข้ที่ต้องล้างไตประมาณ 50,000 รายและจากข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน2560มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทั้งสิ้น 39,411 รายแยกเป็นผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้อง จำนวน 20,993 รายผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 13,503 รายซึ่งจากข้อมูลผู้ป่วย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พบว่าสาเหตุหลักของไตวายเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ได้แก่โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรวมกันมากกว่าครึ่งซึ่งเป็นผลจากการรับประทานอาหารรสหวานหรือเค็มจัด และไม่ออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักตัวเกิน โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นโรคที่สร้างผลกระทบให้กับผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมาก ไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพ แต่ยังกระทบต่อความมั่นคงของครอบครัวและเป็นภาระค่าใช้จ่ายของประเทศจากข้อมูลของประชาชนในตำบลลำใหม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคไต จำนวน 1,692 คน พบว่า มีประชาชนกลุ่มเสี่ยง (ที่ตรวจแล้วเป็นโรคความดัน)จำนวน 340 คน กลุ่มสงสัย 285 คน และกลุ่มที่ต้องสั่งพบแพทย์จำนวน22 คน และมีประชาชนป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน286 คนและป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน644 คนซึ่งจากการป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนี้ ก็จะนำไปสู่การเป็นโรคไตขึ้นได้ จากการสอบถามประชาชน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการทานอาหารรสหวานหรือเค็มจัดโดยเฉพาะในพื้นที่ของชุมชนหรือตลาดนัดตำบลลำใหม่ มักจะขายอาหารหลากหลายประเภทได้แก่ อาหารประเภทยำกล้วยทอดลูกชิ้นทอดข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวยำน้ำชา โรตี กาแฟ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็มักจะซื้ออาหารเหล่านี้มารับประทาน โดยไม่รู้ว่ามีส่วนผสมของเกลือ น้ำปลา และน้ำตาลในปริมาณที่สูงและนอกจากอาหารประเภทที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนยังชอบการรับประทานขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ อาหารฟาสต์ฟู๊ด ที่มีเกลือในปริมาณสูง อาหารที่มีรสจัด ทั้งหวาน มัน เค็ม หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีการเติมรสเค็มในทุกมื้ออาหารมากเกินไปล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งผลให้เกิดภาวะโรคไตได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จากสถิติการตรวจคัดกรองโรคไตของประชาชนตำบลลำใหม่จึงเห็นควรนำเอากลุ่มเสี่ยงที่ตรวจแล้วเป็นโรคความดัน เป็นกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากการเป็นโรคความดันจะนำไปสู่การเป็นโรคไตซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่ามีประชาชนป่วยเป็นโรคความดันจำนวนมากจึงต้องป้องกันการเป็นโรคไตให้กับกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคความดัน เพื่อควบคุมและลดอัตราการป่วยที่อาจจะป่วยเป็นโรคไตขึ้นมากกว่านี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลลำใหม่ และผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับโรคไต

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความรู้ความเข้าใจเรื่องไตจากการอบรม ร้อยละ 80

2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลลำใหม่ และผู้เข้ารับการอบรม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคเพื่อลดการเกิดโรคไต

ประชาชนปกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการอบรม มีพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณ
1 กิจกรรมการตรวจคัดกรอง(9 พ.ค. 2567-9 พ.ค. 2567) 7,000.00
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(9 พ.ค. 2567-9 พ.ค. 2567) 22,950.00
รวม 29,950.00
1 กิจกรรมการตรวจคัดกรอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 76 7,000.00 0 0.00
9 พ.ค. 67 กิจกรรมการตรวจคัดกรอง 76 7,000.00 -
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 76 22,950.00 0 0.00
29 เม.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 76 22,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลลำใหม่ และผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคไต
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลลำใหม่ และผู้เข้ารับการอบรมมีการปรับเปลี่ยนการบริโภคในการดำเนินชีวิตเพื่อลดเสี่ยงจากโรคไต
  3. อัตราการเป็นโรคไตของประชาชนในตำบลลำใหม่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2567 13:48 น.