กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการทุกกลุ่มวัยห่างไกลยาเสพติด ห่างไกลโรค ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L7578-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ 10 ต.ป่าบอน
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิสิทธิ์ แก้วหนูนวล และผู้มีรายชื่อแนบท้ายบันทึกข้อตกลงนี้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337,100.171place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเสพติด หรือ ยาเสพติด หมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีต หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ยาเสพติด เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการเอาโบรไมด์ (Bromide) มาใช้เป็นยาระงับประสาทและรักษาโรคลมชัก ซึ่งได้รับความนิยมมากพอๆ กับยาวาเลียม (Valium) และยาริเบรียม (Librium) ในปัจจุบันโบรไมด์สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิกลจริต และทำลายสมองอย่างถาวรด้วย ในระยะใกล้เคียงกันก็มีผู้ผลิตยาบาบิทเชอริท (Barbiturate) และยาสงบประสาทตัวอื่น ๆ และได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยผู้ใช้ไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการเสพติดของยาเหล่านี้ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีผู้พบโคเคนและกัญชาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้จิตใจสบายโคเคนพบว่ามีประโยชน์ทางการรักษาโรคด้วยโดยใช้เป็นยาซาเฉพาะที่ ดังนั้นโคเคนจึงเป็น ที่นิยมใช้เป็นผลให้มีการเสพติดโคเคน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แอมเฟตามีนถูกนำมาใช้ในกองทหารญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา พอหลังสงครามยาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นกักตุนไว้มาก็ทะลักสู่ตลาด ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นใช้ยากันมาก ในปี 2498 คาดว่ามีชาวญี่ปุ่นติดแอมเฟตามีนราวร้อยละ 1 ระหว่าง 2503 - 2513 ในประเทศสวีเดนมีการใช้ยา Phenmetrazine (Preludin) ซึ่งคล้ายแอมเฟตามีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ในสหรัฐเมริกาพวกฮิปปี้ซึ่งเคยนิยมใช้ แอลเอสดี (ISD) หรือ Lysergic Acid Diethylamide ก็ค่อย ๆ หันมาใช้แอมเฟตามีนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นกัน ระหว่างปี 2503 - 2513 ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง 2513 ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmanเป็นผู้ค้นพบในปี 2496 เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการคล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยด้วยเพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด "Repression" ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหาและผลกระทบตามมามากมายในสังคม   ข้อมูลคดียาเสพติดของกลางปี 2565 พบคดียาบ้ามากสุดน้ำหนัก 23,365 กก. รองลงมายาไซ์ 14,482 กก. กรมการแพทย์เตือนพบคนใกล้ชิดเสพยารีบพาบำบัด ตัวเลขผู้ต้องหาในคดียาเสพติด ในปี 2564 มีจำนวน 350,000 คน แต่ในปี 256 สำหรับโทษทางร่างกาย และจิตใจ คือสารเสพติดจะให้โทยโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ชูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม   ดังนั้น คณะกรรมการหมู่บ้าน ม.10 ต.ป่าบอน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและพิษภัยของยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ และส่งผลกระทบตามมาต่อสังคม จึงได้จัดทำโครงการทุกลุ่มวัยห่างไกลยาเสพติด ห่างไกลโรค ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยตระหนักและทราบถึงพิษภัยขงยาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด

 

2 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

 

3 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจทราบถึงผลกระทบของยาเสพติดที่มีต่อร่างกายและจิตใจ

 

4 เพื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

 

5 เพื่อเพิ่มความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด 2.ประชาชนทราบถึงโทษของยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ 3.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปปลูกฝังจิตสำนึกลูกหลาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2567 09:10 น.