กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ NO ขนมขยะ
รหัสโครงการ L7251-67-02-00
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดประดู่ (สุทธิพานิชพงศ์ชนูปถัมภ์)
วันที่อนุมัติ 29 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเสาวภาคย์ ช่างสาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่โรงเรียนวัดประดู่ได้จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสุขภาพอนามัยที่ดีด้านโภชนาการ โรงเรียนได้สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียน ปรากฏว่า นักเรียนในชั้นระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่รับประทานอาหารกรุบกรอบในขณะท้องว่าง ร้อยละ 40 ของนักเรียนทั้งหมด เป็นเพราะสามารถเลือกซื้อได้ง่าย ส่งผลให้นักเรียนบางคนเมื่อรับประทานอาหารประเภทกรุบกรอบเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง พบว่านักเรียนมีอาการปวดท้อง อาเจียน ส่งผลต่อสุขภาพและการเรียนรู้อตามมา   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและลดอาการป่วยจากการบริโภคอาหารกรุบกรอบมรขณะท้องว่าง และเป็นการสร้างความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โรงเรียนวัดประดู่ได้ส่งเสริมการเลือกรับประทานขนมไทยแทนขนมกรุบกรอบ เพื่อให้นักเรียนลดปัญหาด้านสุขภาพและการเรียนของนักเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับภัยร้ายของเครื่องปรุงรสในขนมกรุบกรอบและลดการบริโภค

 

2 เพื่อให้นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการเลือกทานอาหารดี มีประโยชน์

 

3 เพื่อใหนักเรียนได้เห็นโทษของขนมกรุบกรอบ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ   สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนและใช้ข้อมูลพื้นฐานจากแบบบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน พบว่ามีนักเรียนบางส่วนมีสภาพปัญหาปวดท้อง อาเจียน สาเหตุเกิดจากการรับประทานขนมกรุบกรอบในขณะท้องว่าง ร้อยละ 40 ของนักเรียนทั้งหมด ขั้นตอนดำเนินงาน 2.1 ประชุมวางแผน ดำเนินงานและมอบหมายผู้เกี่ยวข้อง 2.2 มีมาตรการห้ามนำขนมกรุบกรอบเข้ามารับประทานในโรงเรียน 2.3 ออกหนังสือเชิญวิทยากรให้ความรู้ เรื่องโทษของขนมขยะ 2.4 ออกหนังสือเชิญวิทยากร สาธิตการทำขนมไทยเพื่อสุขภาพ 2.5 ดำเนินกิจกรรมตามแผน   1. ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลในพื้นที่   2. ส่งเสริมให้นักเรียนรับประทานขนมไทยแทนขนทกรุบกรอบ   3. ครูที่ปรึกษา สังเกตการนำขนมเข้ามารับประทานในโรงเรียนของเด็ก ๆ ในชั้นเรียน   4. ครูที่ปรึกษา ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้และลดการบริโภคขนมกรุบกรอบ
  2. นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการเลือกทานอาหารดีมีประโยชน์
  3. นักเรียนได้เห็นโทษของขนมกรุบกรอบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2567 09:16 น.