กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง


“ ชาวทุ่งนนท์สุขภาพดี ปรับวิถีการกินแบบใหม่ ”

ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายธีรพงศ์ พัดแดงทัน

ชื่อโครงการ ชาวทุ่งนนท์สุขภาพดี ปรับวิถีการกินแบบใหม่

ที่อยู่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ ถึง 3 พฤษภาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"ชาวทุ่งนนท์สุขภาพดี ปรับวิถีการกินแบบใหม่ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชาวทุ่งนนท์สุขภาพดี ปรับวิถีการกินแบบใหม่



บทคัดย่อ

โครงการ " ชาวทุ่งนนท์สุขภาพดี ปรับวิถีการกินแบบใหม่ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน ยังไม่ระบุ - 3 พฤษภาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 9,400.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันมีรายงานวิจัยที่พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมทั้งประเภทและปริมาณจึงมีผลกระทบต่อสุขภาพและก่อให้เกิดโรคที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้น ๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น และพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้องที่ยังเป็นปัญหา คือ การบริโภครสชาติหวาน มัน เค็มมากเกินความต้องการของร่างกาย (กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา, 2558: 5, วสุนธรา รตโนภาส, ตรรกพร สุขเกษม, 2565: บทคัดย่อ) โดยจากผลการสำรวจพบว่าคนไทยมีความนิยมบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและไขมันมากขึ้น ในขณะที่บริโภคผักผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่แนะนำ โดยจากการสำรวจประชากรไทยในปี พ.ศ. 2557 พบว่าคนไทยบริโภคผักเฉลี่ยวันละ 1.7 ส่วน ซึ่งต่ำกว่าข้อแนะนำคือ 3 ส่วนต่อวัน และบริโภคผลไม้เฉลี่ยวันละ 1.5 ส่วน ซึ่งต่ำกว่าข้อแนะนำ คือ วันละ 2 ส่วน พฤติกรรมการบริโภคไขมันของคนไทยในระหว่างปี พ.ศ.2556-2560 มีการบริโภคไขมันเฉลี่ย 45.6 กรัม/คน/วัน พฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลทราย ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562 พบว่าคนไทยมีการบริโภคน้ำตาลทรายมีปริมาณใกล้เคียงกันที่ปริมาณ 2.5-2.6 ล้านตันต่อปี และพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมจากการสำรวจด้วยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงระดับประเทศ ในปีพ.ศ. 2563 พบว่า ค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมของคนไทย คือ 3636 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์สากลที่กำหนด 2000 มิลลิกรัม/วัน (กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล, 2566 ) จากผลการสำรวจดังกล่าวถือว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยยังไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่สำคัญโดยเฉพาะ 4 การเปลี่ยนแปลงหลัก ได้แก่ 1) ภาวะไขมันในเลือดสูง 2) ภาวะความดันโลหิตสูง 3) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และ 4) ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน นำมาสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 โรคหลัก ได้แก่ 1) โรคหัวใจและหลอดเลือด 2) โรคเบาหวาน 3) โรคมะเร็ง และ 4) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และตามสถานการณ์กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทยปัจจุบันที่ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศ ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิต และภาวะโรคโดยรวม โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตและแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 38 ล้านคนในปี 2555 เป็น 41 ล้านคน ในปี 2559 (ณฐกร นิลเนตร, 2567) ข้อมูลสถิติโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนนท์ จากฐานข้อมูลสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง ปี 2566 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 148 ราย จากจำนวนประชากรทั้งหมด 764 คน ซึ่งพบสถิติ 3 อันดับโรคเรื้อรัง ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ 1) โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 123 ราย 2) โรคเบาหวานจำนวน 43 ราย และ 3) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหืด จำนวน 5 รายเท่ากัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจข้อมูลสุขภาพของตัวแทนครัวเรือนหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนนท์ จำนวน 64 ครัวเรือน จากจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 287 ครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 20 ) ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน 2567 พบว่า สถิติ 3 อันดับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ 1) โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 15 ราย และไม่เคยรับการตรวจ 1 ราย 2) โรคไขมันในเลือดสูง จำนวน 14 ราย และ 3) โรคเบาหวาน จำนวน 8 ราย และไม่เคยรับการตรวจ 2 ราย และผลจากการวิเคราะห์สาเหตุของการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากตัวแทนครัวเรือนดังกล่าว ด้วยแบบสอบถาม 3อ2ส พบว่ามีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ดังนี้ 1) การบริโภคอาหารกลุ่มผักผลไม้เหมาะสม โดยรับประทานอาหารกลุ่มผักผลไม้ มากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ และปริมาณอย่างน้อย ½ กิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 59.38 2) การบริโภคอาหารกลุ่มอาหารเค็มไม่เหมาะสม เนื่องจากพบว่ามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเค็ม มากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 91.25 3) การบริโภคอาหารกลุ่มอาหารมันไม่เหมาะสม เนื่องจากพบว่ามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารมัน มากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 84.46 และ 3) การบริโภคอาหารกลุ่มอาหารหวานไม่เหมาะสม เนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน มากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 77.60 และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพด้านอื่น ได้แก่ 1) พฤติกรรมการออกกำลังกายไม่เหมาะสม เนื่องจากมีการออกกำลังกายน้อยกว่า 2 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลาน้อยกว่า 30 นาที คิดเป็นร้อยละ 70 2) พฤติกรรมการสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 14 และ 3) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการดื่มสุรา พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการดื่มสุรา คิดเป็นร้อยละ 25 โดยใช้เกณฑ์การประเมินแบบสอบถาม 3อ2ส จากกระทรวงสาธารณสุขปี 2563
จากการจัดเวทีประชาคม เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 มีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ตัวแทนจากเทศบาล ตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง แกนนำชุมชน และอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน รวมจำนวน 21 คน เพื่อร่วมกันระบุปัญหาด้านสุขภาพที่ชุมชนประสบและต้องการการแก้ไข ผลจากการจัดเวทีประชาคมพบว่าปัญหาที่ชุมชนให้ความสนใจมากที่สุด คือปัญหาเรื่องประชาชนในชุมชนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยคะแนนเสียง 9 เสียง จากทั้งหมด 21 เสียง และจากการที่ได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็นเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาดังกล่าว ได้ข้อสรุปว่าสาเหตุของปัญหาเรื่องคนในชุมชนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมดังกล่าว เกิดจากการมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสจัด ทำให้มีวิธีการปรุงอาหารในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ร่วมกับการที่คนในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนนท์ ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาในการปรุงอาหาร ทำให้ต้องซื้ออาหารมารับประทาน ซึ่งส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมของคนในชุมชน หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนนท์ สอดคล้องกับผลการประเมิน 3อ2ส ข้างต้น ซึ่งสาเหตุเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ จากข้อมูลและปัญหาที่ได้จากมติที่ประชุมเวทีประชาคมดังกล่าว คณะนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุมเวทีประชาคมหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนนท์ จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการชาวทุ่งนนท์สุขภาพดี ปรับวิถีการกินแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและประชาชนหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนนท์มีความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม และสามารถตัดสินใจเลือกปรุงอาหารและรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมกับสุขภาวะโรคมากยิ่งขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว
  2. เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนัก ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว
  3. เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการตัดสินใจ ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 40
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ 2 บ้านทุ่งนนท์ มีการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น
    2. ประชาชนหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งนนท์ นำความรู้ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัวมาปรับใช้กับสมาชิกในครอบครัว และครัวเรือนอื่นในชุมชน
    3. จำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่ลดลง
    4. ผู้จำหน่ายอาหารในหมู่ 2 บ้านทุ่งนนท์ มีการปรับวิธีการปรุงอาหารให้มีความเหมาะสมกับโรคประจำตัวของคนในชุมชน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว โดยสามารถตอบคำถามได้ 4 ใน 5 ข้อ

     

    2 เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนัก ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว โดยมีการเขียนคำมั่นสัญญาในการปรับปรุงพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตนเองอย่างน้อย 1 ข้อ

     

    3 เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการตัดสินใจ ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการปรุงอาหารและเลือกรับประทานที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว โดยสามารถต่อจิ๊กซอว์วัตถุดิบได้ถูกต้อง 3 ใน 4 ข้อ

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 40
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ  ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว (2) เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนัก ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว (3) เพื่อให้ผู้้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการตัดสินใจ ในการปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัว

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ชาวทุ่งนนท์สุขภาพดี ปรับวิถีการกินแบบใหม่ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายธีรพงศ์ พัดแดงทัน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด