กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมความรู้ในการแก้ปัญหาสุขภาพระดับชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ
รหัสโครงการ 67-L8012-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลยี่งอ
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 29,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุสตาร์ การีมาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 29,700.00
รวมงบประมาณ 29,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิต ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่ากลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseasesหรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวมจากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร และรองลงมาเป็นปัญหาของโรคติดต่อ ที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ (ไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) เป็นต้น โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วย โรคเรื้อรัง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมทั้งบุคคล ครอบครัวและชุมชน จากสภาพปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน นับว่าเป็นปรากฎการณ์ของปัญหาใหม่ที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่ไม่สามารถจะมองข้ามได้ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพจะส่งผลกระทบต่อปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สุขภาพ เป็นต้น ปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกและข้อ ตลอดจนปัญหาอุบัติเหตุต่างๆ แม้ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากการทำงานอุบัติเหตุจากการจราจรบนท้องถนน โรคและอุบัติเหตุต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจากสถานบริการสาธารณสุข
ซึ่งประชาชนและชุมชนไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องอาศัยกลยุทธ์ในการส่งเสริม ควบคุม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู
เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชน           การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จำเป็นต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยภาครัฐ องค์กรชุมชน ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไปในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมตระหนักในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นต่อปัญหาการเกิดโรคได้ โดยประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต           ดังนั้นทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลยี่งอ ได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตลอดจนพัฒนาระบบในการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน และสามารถป้องกัน ควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประชาชนในชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับประชาชนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการอบรมความรู้ในการแก้ปัญหาสุขภาพระดับชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจ แนวทางในการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนได้
  1. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ แนวทางในการแก้ปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 100
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการแก้ปัญหาสุขภาพและการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  1. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป มีการพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการแก้ปัญหาสุขภาพและการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
3 3. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และป้องกัน ควบคุมโรคที่สำคัญได้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และป้องกัน ควบคุมโรคที่สำคัญได้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน
        - ร่วมกันประชุมวางแผนการปฏิบัติการ     - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
        - ประชุมเจ้าหน้าที่เทศบาล อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
    • ติดต่อประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป เพื่อกำหนดนัดหมาย
    • จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน
    • จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
    • จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
    • จัดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป เรื่องปัญหาสุขภาพในชุมชน     - ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องปัญหาสุขภาพในชุมชนและแจ้งข่าวการระบาดของโรค ผ่านสื่อต่างๆ     - จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของชุมชน เพื่อแจ้งเตือนภัย การส่งข่าว หรือรายงานเบื้องต้นเฝ้าระวังและป้องกันโรค กรณีมีการเกิดโรคในพื้นที่ ร่วมค้นหาและติดตามผู้ป่วยสงสัย     - จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำสุขภาพและประชาชนทั่วไป (จำนวน 50 คน)
          - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป  ในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ     - ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป ในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ มีความรู้ ความเข้าใจ แนวทาง วิธีการในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่สามารถป้องกัน ควบคุมโรคที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนในชุมชนได้
  2. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป ในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของชุมชน มีความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค
  3. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป ในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2567 12:52 น.