กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รู้เร็ว รีบรักษา ยุติปัญหาวัณโรค
รหัสโครงการ 67-L3317-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 16,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปิยเรศ คงพรม
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพฑูรย์ ทองสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2083 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลกจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่ม 30 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูง การดำเนินงานเพื่อยุติวัณโรคให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกระดับ
      สถานการณ์โรควัณโรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง หรือเขตสุขภาพที่ 12 คาดประมาณว่า ในปี 2565 จะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และกลับเป็นซ้ำประมาณ 7,400 ราย แต่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 16 มีนาคม 2565 มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษาเพียง 1,617 ราย แสดงว่ายังมีผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา และกำลังแพร่เชื้ออยู่ในชุมชน
      วัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบบ่อย คือ วัณโรคปอด ติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศ โดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม ทำให้เชื้อกระจายอยู่ในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไป ก่อให้เกิดการติดเชื้อและป่วยได้ การรักษาวัณโรคใช้เวลาค่อนข้างนานอย่างน้อย 6 เดือน กรณีวัณโรคดื้อยาที่ใช้สูตรยาระยะสั้นไม่ได้ ต้องรักษาอย่างน้อย 18 เดือน       การป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นวัณโรค ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ป้องกันตนเองโดยสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ หรือเมื่ออยู่ในชุมชน สำหรับผู้ป่วยวัณโรคให้สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคสู่ผู้อื่น และต้องกินยาให้ครบถ้วนสม่ำเสมอทุกวันจนครบระยะเวลาตามแพทย์สั่ง
หากมีอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ 1. ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ 2. ไอมีเสมหะปนเลือด สามารถติดต่อหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจรักษา ทั้งนี้ผู้ป่วยวัณโรคในระยะเริ่มแรก อาจไม่มีอาการใด ๆ
      กลุ่มเสี่ยงวัณโรค ได้แก่ กลุ่มผู้อาศัยร่วมบ้าน หรือผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์, ผู้สูงอายุ > 65 ปี ที่มีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน, ผู้ติดสารเสพติด ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปี 1 ละครั้ง ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีอาการก็ตาม     ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านจันนา เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาวัณโรค จึงได้เขียนโครงการจัดกิจกรรมรณรงค์ ให้ความรู้เรื่องวัณโรค พัฒนาศักยภาพ อสม. ในการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เน้นย้ำ “เร่งค้นหา ดูแลรักษาให้หาย” และร่วมประชาสัมพันธ์ “วัณโรค รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย ไม่ตีตรา”
    ภารกิจการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงวัณโรค (Active Case Finding) ในปี 2566 ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านจันนา ได้ดำเนินการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานควบคุมน้ำตาลไม่ได้ และกลุ่มเบาหวาน 65 ปีขึ้นไป ตามแผนของ รพ.ควนขนุน พบว่ากลุ่มเสี่ยงเข้าใช้บริการคัดกรองเอกซเรย์ปอดน้อย คิดเป็นร้อยละ 54.54 จึงเป็นที่มาของการวิจัยเพื่อการพัฒนาการโน้มน้าวจูงใจกลุ่มเสี่ยงวัณโรคที่สูบบุหรี่ให้มาคัดกรองวัณโรค ด้วยเรื่องเล่า โดย อสม.จันนา ผลปรากฏว่ากลุ่มเสี่ยงเข้าใช้บริการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น ผลปกติทั้งหมด23 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.67 ไม่มาเอกซเรย์ 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.33 เหลือกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้คัดกรอง อีก 5 กลุ่ม คือ
1. ไม่มีอาการแสดง ไม่มีโรคประจำตัว      จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.08 2. โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.38 3. มีอาการแสดง ไข้ ไอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร 1 ปี    จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.38 4. โรคหอบหืด จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 5. โรคจิตเภท จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 ซึ่งจะต้องกำหนดในแผนเพื่อดำเนินการคัดกรองให้ครอบคลุมทั้งหมด เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้พบอีก 3 ราย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. แกนนำสุขภาพสามารถโน้มน้าวกลุ่มเสี่ยงวัณโรคด้วยเรื่องเล่า ได้ร้อยละ 60
๒. กลุ่มเสี่ยงเข้าใช้บริการตรวจคัดกรองเอกซเรย์ปอดที่โรงพยาบาลควนขนุน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 ๓. แกนนำสุขภาพสามารถคัดกรองวัณโรคด้วยแบบคัดกรองครอบคลุม ร้อยละ 95 ๔. ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงทุกราย (อาการเข้าข่ายวัณโรค) ตรวจเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลควนขนุน ๕. ตรวจพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2567 15:51 น.