โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะ
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะ |
รหัสโครงการ | 67-L2540-3-0010 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะ |
วันที่อนุมัติ | 4 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 4 มิถุนายน 2567 - 30 สิงหาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,590.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวโนรี บินนุ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มเด็กที มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และมักจะมีการระบาดในศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล และชุมชน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มที มีชื่อว่า เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ไวรัสตัวที่พบบ่อยคือ Coxsackie virus A16 ในรายที่ไม่รุนแรงอาจหายเองได้และสายพันธุ์ที่มักเกิดอาการรุนแรง คือ Enterovirus71 ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ ซึ่งมักน่าไปสู่ภาวะหัวใจวาย ระบบหายใจล้มเหลว และอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้โดยโรคนี้เกิดจากการรับประทานอาหารโดยไม่ล้างมือ การดื่มน้ำ ดูดเลียนิ้วมือ อาการโดยทั่วไป จะมีไข้ เจ็บคอ มีตุ่มพองใสขนาด 1-2 มม. บนฐานจะมีตุ่มสีแดงกระจายอยู่ จะขยายกลายเป็นแผลคล้ายแผลร้อนใน โดยส่วนมากพบที่บริเวณในปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก เพดานอ่อน ลิ้นไก่ มือ เท้า ก้น อวัยวะเพศ เข่า ข้อศอกของผู้ป่วย มักเป็นอยู่นาน 4-6 วัน หลังเริ่มมีอาการ และอาจมีอาการชักจากไข้สูงร่วมด้วย เนื่องจากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมักจะอยู่รวมกันในอาคารเป็นส่วนใหญ่ มีการทำกิจกรรมและการเล่นของเล่นร่วมกัน ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ง่ายขึ้น สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย อ้างอิงข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปี 2566 พบผู้ป่วย 65,324 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 98.72 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย อัตราส่วน เพศชายต่อเพศหญิง 1: 0.83 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 0-4 ปี (75.38%)5 ปี (10:12%)7-9 ปี (6.13%) สัญชาติไทยร้อยละ 95.9อื่นๆร้อยละ 2.7พม่าร้อยละ 1.0กัมพูชาร้อยละ 0.2ลาวร้อยละ 0.1จีน/ฮ่องกง/ไต้หวันร้อยละ 0.1มาเลเซียร้อยละ 0.0เวียนนามร้อยละ 0.0อาชีพส่วนใหญ่ ไม่ทราบ/ในปกครองร้อยละ 81.6 นักเรียนร้อยละ 16.9อื่นๆร้อยละ 0.8 ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้สถานศึกษาปฏิบัติตามมาตรการที่กรมควบคุมโรคกำหนด เพื่อป้องกันการเกิดโรคและการแพร่ระบาดของโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนของทุกปี (พฤษภาคม - ตุลาคม) และยังเป็นช่วงเปิดภาคเรียน จึงเป็นช่วงเวลาที่พบการแพร่ระบาดของโรคเป็นจำนวนมาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุรู ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขอนามัยเด็กจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองและเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก และลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อให้ลดลง ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการและสุขภาพที่ดี ลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการและสุขภาพที่ดี ร้อยละ 50 |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็กร้อยละ 90 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
4 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะ | 0 | 8,120.00 | ✔ | 8,120.00 | |
4 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 | กิจกรรมสาธิตการทำความสะอาดมือที่ถูกวิธี | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
4 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 | กิจกรรม Big Cleaning Day ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะ | 0 | 1,470.00 | ✔ | 1,470.00 | |
รวม | 0 | 9,590.00 | 3 | 9,590.00 |
- ลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อให้ลดลงส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการและสุขภาพที่ดี
- ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 00:00 น.