กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเสี่ยง เลี่ยงไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 67-L3346-6-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 6 การใช้เงินตามมติบอร์ด
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบา่ลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 29,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมณฑา พันฤทธิ์ดำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 29,050.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 29,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก รวมถึงประเทศ ไทย ภาวะไตเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease,ESRD) ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือการปลูกถ่ายไต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิด โรคหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วย โรค ไตเรื้อรังในประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัด ทดแทน ไตเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะต้องแบกรับ ค่าใช้จ่ายในการรักษาซึ่งมีราคาสูงโดยเฉพาะในระยะที่เข้าสู่งการบำบัดทดแทนไต การป้องกันไม่ให้เกิด โรคไตเรื้อรังและชะลอความเสื่อยมของไต ในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการค้นหา คัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง รวมถึงการติดตามดูแลให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทาน อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การดูแลตนเองที่บ้านจนถึงเกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น จนทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีจำนวนลดลงได้ในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการดูแลคนในชุมชน จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 285 ราย จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 602 ราย และได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไตคิดเป็นร้อยละ 28.57 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน ได้จัดทำโครงการลดเสี่ยง เลี่ยงไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเรียนรู้ถึงวิธีป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง ตลอดจนการดูแลรักษาและชะลอไม่ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ ความตระหนักในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของโรค และมีการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อม
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีอัตราการลดลงของค่า eGFR < 4
50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,050.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีความรู้และการจัดการในการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม 0 20,050.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม “ย่องเข้าครัว” ตรวจค่าความหวานเค็ม 0 7,000.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามและประเมินผล 0 2,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90ของประชากรกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ตระหนักและมีการจัดการในการดูแลสุขภาพ
    2.กลุ่มเป้าหมายมีอัตราการลดลงของค่า eGFR < 4
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 00:00 น.