กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3346-5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 62,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 62,775.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 62,775.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคและปัจจุบันโรคสามารถแพร่ระบาดได้ทั้งปี ซึ่งต่างจากในอดีตที่มักจะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนแต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักทั้งนี้ยังขาดความตระหนักจากประชาชนผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ที่ยังคงมีความเข้าใจว่าเป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. จึงละเลยเรื่องดูแลบ้านเรือนของตน โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติตามหลัก 5 ป+ 1ข
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 156,097 ราย เสียชีวิต 175 ราย ซึ่งผู้ป่วยสูงกว่าปี 2565 ถึง 3.4 เท่า (ปี 2565 ผู้ป่วย 45,145 ราย) ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค สำหรับสถาการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดพัทลุง พบว่าปี 2565 มีผู้ป่วย 189 ราย และปี 2566 มีผู้ป่วย 2,184 ราย (ข้อมูลจากกลุ่มงานโรคติดต่อและงานระบาดวิทยา สสจ.พัทลุง) ซึ่งพบว่ายอดผู้ป่วยสูงกว่าปี 2565 ถึง 11.5 เท่าสำหรับพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน การระบาดของโรคไข้เลือดออก5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2562 -2566 เท่ากับ 368.94 , 228.59, 35.06 , 0.00 และ 631.69 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตายซึ่งปี 2566 มีอัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง 2.7 เท่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงเวลาของการเปิดภาคเรียนพอดีและผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในกลุ่มวัยเรียนทั้งระดับประถม มัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความหลากหลายจากที่มาของภูมิลำเนา ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชนและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจึงคาดการณ์ว่าในปี 2567 หากไม่มีการป้องกันโรคแต่เนิ่นๆ อาจมีการระบาดอย่างต่อเนื่องจากปี 2566 จึงต้องมีการเฝ้าระวังพื้นที่แหล่งรังโรคของปีผ่านมาอย่างอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชันจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มีการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบมีค่า HI,CI ไม่เกินร้อยละ 10

10.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 62,775.00 0 0.00
2 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย แบบไขว้ จำนวน 2 ครั้ง 0 5,200.00 -
2 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 การตรวจหาเชื้อไข้เลือดออกเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่าย 0 31,500.00 -
2 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมควบคุมโรค 0 26,075.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. ประชาชนให้ความตระหนักต่อการดูแลบ้านเรือน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2567 00:00 น.