กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มเกษตรกร รพ.สต.คูหาใต้ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8402-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจริญศรี เมืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศและการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกร มีความเสี่ยงจากการได้รับอันตราย จากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมี โดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรมีความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเอง จากการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเกษตรกรโดยการเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน 50 คน ผลเลือดปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 ปลอดภัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24.00 มีความเสี่ยง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48.00 และไม่ปลอดภัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24.00 จากกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด มีความเสี่ยงจำนวน 24 คน และไม่ปลอดภัย จำนวน 12 คน จึงได้นำกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่ประสงค์จะเข้ารับบริการขจัดสารเคมีในเลือด จำนวน 36 คน เข้ารับการขับสารพิษ โดยรางจืด ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อทำการเจาะเลือดซ้ำในครั้งที่ 2 ผลปรากฏว่า การขับสารพิษด้วยลางจืด สามารถลดสารเคมีในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับที่ลดลงได้ ร้อยละ 58.43 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มเกษตรกร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ ประจำปี 2567 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด

90.00
2 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรที่เข้าร่วมการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ   1.1 เก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาการดูแลสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ รพ.สต.คูหาใต้   1.2 เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติของบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ 2.ขั้นดำเนินการ   2.1 ส่งหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.คูหาใต้ รวมทั้ง อสม. รพ.สต. สท.ต และแกนนำชุมชน เพื่อชี้แจงปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มเกษตรกร   2.2 ประชุมชี้แจงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มเกษตรกรแก่เครือข่ายสุขภาพ รพ.สต.คูหาใต้ โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ทั้งหาแนวทางดำเนินการในชุมชน
  2.3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบความรู้ แผ่นพับในสถานบริการ ป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) ในชุมชนและเสียงตามสายผ่านหอกระจายข่าวของชุมชนให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเกษตรกร   2.4 จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย จำแนกรายหมู่บ้าน   2.5 จัดอบรมให้ความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง และประเมินความเสี่ยงในการทำเกษตรกร   2.6 การให้บริการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดในกลุ่มเกษตรกร   2.7 จัดระบบติดตามกลุ่มที่ไม่ปลอดภัยและสีความเสี่ยง โดยการตรวจคัดกรองซ้ำ 3.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาสารเคมีตกค้างในเลือด
  2. เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมไปถึงสามารถป้องกันตัวเองได้ หากมีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้ผลว่า ระดับสารเคมีในเลือดของตนเองว่าอยู่ระดับใด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2567 15:34 น.