กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรพอเพียงสนับสนุนอาหารกลางวันนักเรียน
รหัสโครงการ 67-L8367-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านนา
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโชค บุญเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การทำเกษตรพอเพียงเพื่อสนับสนุนอาหารกลางวันนักเรียน ยังไม่เพียงพอ เช่น การเลี้ยงปลาดุก การปลูกผัก ฯลฯ
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านนา ได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมาสอดแทรกหรือบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม เพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียง โดยเน้นการปฏิบัติจริง ให้นักเรียนมีทักษะชีวิตที่มีรากฐานของการเป็นคนดี มีคุณธรรมเป็นหลักในวิถีชีวิต การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ จากประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้  ในการฝึกปฏิบัติจริงเป็นสถานที่ในการจัดกระบวนการเรียนรู้สำคัญ
      จากประสบการณ์และการปฏิบัติจริง นักเรียนยังขาดความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกผักและการเลี้ยงปลา สนับสนุนอาหารกลางวันไม่เพียงพอ ที่สำคัญจะทำให้นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ โดยท่านผู้บริหารและคณะครูช่วยกันขับเคลื่อน หลักเศรษฐกิจพอเพียงผ่านการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และการบูรณาการในทุกกลุ่ม สาระการเรียนรู้ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ได้เรียนรู้ เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก การปลูกผักสวนครัว ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุก การปลูกผัก ร้อยละ 100

2 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านนามี ผักปลอดภัยจากสารพิษได้รับ ประทานอาหารกลางวัน

โรงเรียนมีปลาดุกและมีผักปลอดสารพิษ ให้นักเรียนได้รับประทาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ได้เรียนรู้ เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก การปลูกผักสวนครัว ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านนามี ผักปลอดภัยจากสารพิษได้รับ ประทานอาหารกลางวัน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์  การปลูกผักสวนครัวสวนครัว
  2. นักเรียนนำความรู้จากการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์  การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ที่บ้านได้
  3. โรงเรียนมีผักสวนครัวปลอดสรพิษ มีปลาดุก สนับสนุนอาหารกลางวันนักเรียน
  4. บุคลากร / นักเรียน ในโรงเรียน / ผู้ปกครอง สามารถมาเรียนรู้ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2567 09:56 น.