กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 4 มิติ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 30,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีระศักดิ์ วงศ์ขัติย์ และคณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2567 30 มิ.ย. 2567 30,660.00
รวมงบประมาณ 30,660.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม
50.38
2 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น
71.34
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)
21.30
4 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ
22.72
5 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
25.89
6 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
36.54

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ระบุว่าโครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย ในปี 2565 ประเทศไทยกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” โดยมีจำนวนผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบในหลายๆด้านตามมา เช่น ภาระด้านงบประมาณและการคลังของรัฐที่ต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการและสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล ที่อาจนำไปสู่ภาวะเสี่ยงในด้านสุขภาพ รวมถึงผลกระทบต่อภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ
จังหวัดพะเยา มีประชากรทั้งหมด 464,505 คน มีจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนทั้งหมด 109,790 คน คิดเป็นร้อยละ 23.64 และมีจำนวนผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนไว้ทั้งหมด 10,673 คน  ตำบลจำป่าหวาย มีประชากรทั้งหมด 8,337 คน มีจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 2,253 คน คิดเป็นร้อยละ 27.02 แยกเป็นผู้สูงอายุติดสังคม 2,201 คน หรือร้อยละ 97.69 ผู้สูงอายุ  ติดบ้าน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 1.60 ผู้สูงอายุติดเตียง 16 คน คิดเป็นร้อยละ 0.71 (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำป่าหวาย,2556) และมีจำนวนผู้พิการ (รวมทุกช่วงอายุ) ที่ขึ้นทะเบียนไว้ทั้งหมด 308 คน คิดเป็นร้อยละ 3.69 (ข้อมูลจากสำนักปลัด อบต.จำป่าหวาย,2556)
ปัญหาผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ติดเตียง ปัญหาผู้สูงอายุที่รับภาระดูแลบุคคลในครอบครัว เช่น คนพิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง บุตรหลาน และผู้ป่วยจิตเวช และปัญหาผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยเหมาะสมนอกจากนี้แนวโน้มผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพในชุมชนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยสาเหตุมาจากการมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การเสื่อมโทรมตามวัย เช่น หูตึง กระดูกเสื่อม เป็นต้น มีการดูแลโดยตนเอง ครอบครัว ญาติพี่น้อง และชุมชน ด้านโครงสร้างครอบครัวของประชาชนในจังหวัดพะเยามีแนวโน้มปรับเปลี่ยนจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว มีครอบครัวถึงร้อยละ 6.5 ที่มีผู้สูงอายุอยู่โดดเดี่ยว
จากปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุและประชาชนที่สนใจ ในการเข้าสู่สังคมสูงวัยและลดค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพ ผู้สูงอายุมีทักษะกาย ใจ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีสุขภาวะที่ดี รองรับสังคมสูงวัยในปัจจุบันและอนาคต โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย  จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 4 มิติ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น จาก 1135 เป็น 1352 คน คิดเป็นร้อยละ 60

50.38 60.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

71.34 50.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

21.30 40.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

22.72 30.00
5 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

25.89 20.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

36.54 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67
1 ประชุมชี้แจงโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ(6 ก.พ. 2567-6 ก.พ. 2567) 0.00          
2 เสริมสร้างความรู้และทักษะผู้สูงอายุ(8 พ.ค. 2567-8 พ.ค. 2567) 0.00          
3 ติดตามประเมินผลชมรมผู้สูงอายุ(8 พ.ค. 2567-8 พ.ค. 2567) 0.00          
4 สรุปผลการดำเนินงาน(8 พ.ค. 2567-8 พ.ค. 2567) 0.00          
รวม 0.00
1 ประชุมชี้แจงโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 เสริมสร้างความรู้และทักษะผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 ติดตามประเมินผลชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
4 สรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 ประชาชนและผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวายมีความพร้อมสู่สังคมสูงวัย 8.2 ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีครอบคลุมทั้ง 4 มิติ (มิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคมและมิติด้านสภาพแวดล้อม+เทคโนโลยี)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2567 09:16 น.