กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
รหัสโครงการ 60L332112
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปันแต
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2560 - 15 มีนาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,172.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัศนีย์ คงเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,100.051place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2560 15 มี.ค. 2560 10,172.00
รวมงบประมาณ 10,172.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 184 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศ ผู้ที่เป็นเบาหวานมาหลายปีหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดหลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาไตและเท้า ซึ่งปลายประสาทเท้าเสื่อมทำให้เกิดแผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรัง และนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการสูญเสียเท้าได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยครอบครัวและชุมชน สถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาและรับยาต่อเนื่องในระบบ จำนวน 229 ราย ส่วนมากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จากการประเมินผลการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2559 ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้า จำนวน 190 คน ร้อยละ 96.45ผลการตรวจเท้าอยู่ระดับปกติ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ17.85 ระดับความเสี่ยงต่ำ จำนวน 147คน คิดเป็นร้อยละ 77.37และระดับเสี่ยงปานกลาง จำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 4.21 และสถานการณ์ข้อมูลสุขภาพชุมชนมีแนวโน้มประชาชนเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จึงมีการปรับรูปแบบการให้ความรู้เป็นรายบุคคล รายกลุ่มย่อย (Self help group ) ในสถานบริการและในชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จริงของกันและกัน ซึ่งมีผู้ป่วยเบาหวาน ครอบครัว ญาติ อสม.โดยมีทีมสุขภาพเป็นผู้สนับสนุนคอยเป็นพี่เลี้ยงเพื่อสร้างเสริมพลังให้กลุ่มมีความมั่นใจในการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองให้ถูกต้องเหมาะสม การช่วยดูแลสุขภาพกันเองแบบองค์รวม ในชุมชน เช่น อสม.ช่วยวัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจเบาหวานปลายนิ้ว ตรวจทดสอบปลายประสาทเสื่อมที่เท้า ครอบครัว และญาติ สามารถเป็นกำลังใจให้กันและกันมีการดูแลเท้าและบริหารเท้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เท้าจะได้ไม่ถูกตัดเท้าเมื่อเป็นแผลติดเชื้อเรื้อรัง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงหาแนวทางปรับความคิด แนวปฏิบัติให้ผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล และชุมชน เกิดความตระหนัก ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน แบบองค์รวม โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความยั่งยืนต่อไปในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการบริหารและนวดเท้า

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการบริหารและนวดเท้า

2 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 4.2 ประชุม กำหนดแผนการดำเนินงาน การพัฒนางานตามแนวทางการดูแลเท้าใน ผู้ป่วย เบาหวาน โดยมีกิจกรรมดังนี้ 4.2.1) การทบทวนแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
4.2.2) การสาธิต/การฝึกปฏิบัติการตรวจเท้า
4.2.3) การประชาสัมพันธ์นัดกลุ่มเป้าหมายมารับบริการที่ รพ.สต.ปันแต 4.4.4) การประสานงานการสนับสนุนทรัพยากร ระหว่างเครือข่าย 4.3 จัดกิจกรรมการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานตามวัน เวลา ที่กำหนดตามแผนปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 4.3.1) ตรวจและประเมินเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ประเมินระดับความรุนแรงของโรค และส่ง พบแพทย์ในรายผิดปกติ 4.3.2) บันทึกข้อมูล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการเกิดแผลที่เท้า/ได้รับการตรวจเท้า 2 ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเท้าและดูแลเท้าได้ด้วยตนเอง 3 ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 11:55 น.