กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของคนในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L5287-2-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านสายควน
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 26,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุล รอโซยล๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 26,160.00
รวมงบประมาณ 26,160.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะเ้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยกำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจำรรมการคัดกรอง คนหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่การเลิกสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการแแกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนัก การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็น จะต้องอาศัยการมีส่วร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
  จากการที่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) บ้านสายควน ได้ทำการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันดลหิตสูงของคนในชุมชน ในปี 2565 และปี 2566 เป้าหมายที่ทำการคัดกรอง คือ ประชากร 30 ปี ขึ้นไป จำนวน 394 คน คัดกรองได้ 378 คน คิดเป็นร้อยละ 95.93 พบ กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสุง จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 34.92 กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 1.58 ซึ่งถือว่าคนในชุมชนมีอัตราความเสี่ยงสูงในการเป็นผู้ป่วยรายใหม่จากโรคดังกล่าว นี่คือสถิติการคัดกรองในรอบ 2 ปี
  กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านสายควน หมู่ที่ 7 มุ่งหวังให้คนในชุมชนลดความเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคความดันดลหิตสุง จำนวน 98 คน และโรคเบาหวานจำนวน 7 คน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชนขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และพัมนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้นำความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนฟฤติกรรม ร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มีการเปลี่ยนแปลง(ลดลง)ระดับของความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 105 26,160.00 0 0.00
8 พ.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 105 26,160.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยวิธีกาาต่างๆ จากการให้ความรู้และไดนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. กลุ่มเสี่ยงในชุมชน สามารถดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคความดัน และเบาหวานได้ ผลจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักรักษาโรคได้
  3. คนในชุมชนสามารถป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดโรคความดัน เบาหวาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2567 14:13 น.