กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ พิชิตยุงร้าย ทำลายเเหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันไข้เลือดออก พื้นที่ หมู่ที่ 5 ต.บ่อน้ำร้อน
รหัสโครงการ 67-L1467-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 ต.บ่อน้ำร้อน
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรทิพย์ แป้นไทย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักและยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนชาวไทยคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก และการไม่มีพฤติกรรมตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อันอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือน สถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จากสถิติข้อมูล 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2563-2567 พบผู้ป่วยจำนวน 53, 10, 10, 1, 10 ราย ตามลำดับ (ที่มา: รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
รพ.สต.บ่อน้ำร้อน ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567) จากข้อมูลข้างต้น มีข้อสังเกตปี พ.ศ.2567 ในห้วงเวลา 1 มกราคม พ.ศ.2567 ถึง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 10 ราย ซึ่งมีจำนวนเท่ากันกับปี พ.ศ.2564 ,พ.ศ.2565 ทั้งปี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและวิธีปฏิบัติตนให้แก่ประชาชนในการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการลูกน้ำยุงลายปลอดภัยไข้เลือดออก เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้นในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น

2 เพื่อควบคุมหรือลดจำนวนลูกน้ำหรือยุงลายในพื้นที่

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย( HI,CI ) ในชุมชนลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก
  2. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  3. ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้
  4. ทำให้สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2567 15:00 น.