กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเรียนรู้ผลกระทบจากโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
รหัสโครงการ 67-L3323-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านชายคลอง
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 7,236.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณัฏฐ์ นนทะเสน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 31 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 39 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกวันนี้หลาย ๆ ครอบครัวมักจะนำเทคโนโลยีเข้ามาเลี้ยงลูกกันมากขึ้น หรือปล่อยให้เด็กอยู่กับสื่อเทคโนโลยี เช่น มือถือ แท็บเล็ต หากปล่อยให้เด็กใกล้ชิดสื่อเหล่านี้มากเกินไปโดยไม่กำหนดเวลาดูหรือเลือกสื่อ ที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลเสียหลายด้าน คือ
1) ด้านการสื่อสาร ขาดความคิดสร้างสรรค์ และการจ้องมองจอภาพเป็นเวลานานจะส่งผลเสียกับดวงตาได้ เช่น ทำให้สายตาสั้น ดวงตาแห้ง
2) ด้านร่างกาย จะไม่แข็งแรง เหนื่อยง่าย ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายตามที่ควรจะเป็นหรืออาจส่งผลให้เป็นเด็กขี้เกียจได้
3) ด้านอารมณ์ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เพราะเด็กแยกแยะโลกของอินเทอร์เน็ตกับความจริงไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่เป็น เด็กขาดสมาธิไม่จดจ่อหรือตั้งใจทำกิจกรรมใด และ
4) ด้านพฤติกรรม จะก้าวร้าว ซุกซน สมาธิสั้น มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก คือดื้อ ต่อต้าน โลกส่วนตัวสูง สื่อสารกับคนอื่นน้อย จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ในห่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
สถานศึกษาทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ได้รับผลกระทบในด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งต้องปรับรูปแบบจากการเรียนในชั้นเรียนปกติ (On-site) มาเป็นรูปแบบออนไลน์ (On-line) โดยมีการสนับสนุนงบจากรัฐบาลในการจัดซื้อโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในระหว่างนั้น ทำให้นักเรียนทุกคนมีโทรศัพท์ไว้ใช้ แม้จะเปิดเรียนปกติแล้วก็ตาม ดังนั้น จากการสังเกตเด็กนักเรียนของโรงเรียนบ้านชายคลอง ในช่วงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านทำให้ทราบว่า นักเรียนเกิดภาวะถดถอยในการเรียน (Learning Loss) สมาธิสั้น ใจร้อน ขาดเรียนบ่อยแอบพกโทรศัพท์มาโรงเรียน ติดโซเซียลมาก ใช้เวลาส่วนใหญ่หลังเลิกเรียนอยู่กับโทรศัพท์มือถือ และไม่สนใจกิจกรรมอื่น ๆ เท่าที่ควร โรงเรียนบ้านชายคลองจึงตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจส่งผลไปในอนาคตอย่างแน่นอน ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดเจนมากคือ นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้มือถือ เนื่องจากโรงเรียนไม่ได้เตรียมนักเรียนให้พร้อมเพื่อรับมือสำหรับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างเร่งด่วน (ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด) ทำให้นักเรียนเสพติดการใช้มือถือ ติดเกม อย่างขาดความหยั้งคิด และขาดสติ โรงเรียนบ้านชายคลองจึงได้จัดทำโครงการเรียนรู้ผลกระทบจากโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลองเกิดการเรียนรู้โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
  1. ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลองที่เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม คิดเป็นร้อยละ 75
2 1.2 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลอง รู้ถึงการป้องกันและรักษาโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
  1. ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลอง รู้ถึงการป้องกันและรักษาโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซิน โดรม คิดเป็นร้อยละ 75
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,236.00 0 0.00
16 พ.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 จัดอบรมสรุปความรู้ และกิจกรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง 0 7,236.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลอง มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงโทษภัยของการใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอที หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน 6.2 โรงเรียนบ้านชายคลองมีสื่อรณรงค์ที่เพียงพอในบริเวณโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 09:55 น.