กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะสตรีตำบลยามูหมู่ที่ 3 บ้านป่าหลวง ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 008/2567
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยามู
วันที่อนุมัติ 9 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 พฤษภาคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 67,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยามู
พี่เลี้ยงโครงการ นางต่วนฟาตีมา จันทรัตนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,101.372place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 67,500.00
รวมงบประมาณ 67,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของสตรีตำบลยามูพบว่าปัญหาสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธ์ถึงวัยกลางคน ช่วงอายุ ๑๕ - ๕๙ ปี คือ การมีดัชนีมวลกายสูง กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และมะเร็ง โดยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในสตรีเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากนี้พบว่าสตรีอายุ 15 - 59 ปี ที่มีปัญหาสุขภาพ เกิดจากการละเลยการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ ทั้งนี้อาจเนื่องมากจาก 1) บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง 2) ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุน โดยเฉพาะจากบุคคลในครอบครัว, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน และ 3) ปัญหาในเรื่องของอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย จึงไม่กล้าที่จะไปตรวจสุขภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ในรูปแบบเครือข่ายสตรีส่งเสริมสุขภาพ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยในแต่ละหมู่บ้าน
อนามัยเจริญพันธุ์เป็นสุขภาพอนามัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ในทุกช่วงของชีวิต โดยมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ สตรีที่มีความสามารถเจริญพันธุ์ได้ มีบุตรได้ และสามารถมีความสุข กับการมีความสัมพันธ์ทางเพศได้ สามารถมีบุตรที่สุขภาพแข็งแรง มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย การคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัว การดูแลสตรีระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด อันจักส่งผลให้สตรีและบุตรได้รับความปลอดภัยตลอดการตั้งครรภ์ รวมทั้งการป้องกันตนจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ ทั้งนี้การขาดการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ อาจส่งผลเสียต่อสตรีเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย เศรษฐกิจ และสังคม จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องมีบริการดูแลอนามัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การดูแล/ส่งเสริมให้สตรีมีการปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีและเหมาะสมตามวัย รวมทั้งการได้รับบริการตรวจค้นหาเพื่อป้องกันโรคในสตรี การส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี จึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพในกลุ่มสตรีที่สำคัญ คือ ความเจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ความดัน โรคไต โรคหัวใจ และโรคมะเร็งต่างในกลุ่มสตรี ทั้งนี้โดยการกระตุ้นความคิดและส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเองเบื้องต้น และการส่งเสริมการออกกำลังกายซึ่งเป็นพฤติกรรมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญ โดยการออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 3 - 4 วันต่อสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอจะช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งต่อด้านร่างกายและจิตใจ โดยประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การออกกำลังกายทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ได้ ช่วยให้การเผาผลาญพลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น ลดการสะสมระดับของไขมันในร่างกาย ป้องกันโรคไขมันอุตันในเส้นเลือดและโรคความดัน ในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 4 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ต่อสัปดาห์ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นจนโตเป็นผู้ใหญ่ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการเกิดสารก่อมะเร็ง และเพิ่มการไหลเวียนของเม็ดโลหิตขาวซึ่งจะ ลดปัญหาสุขภาพได้ ส่วนด้านจิตใจ การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่นอิ่มเอิบ อารมณ์ดี ลดความตึงเครียด  และนอนหลับได้ดี ซึ่งส่งผลดีด้านสังคม คือ ช่วยให้มีสัมพันธภาพ และมิตรไมตรีต่อกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชน
การที่ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดีนั้น ประชาชนจะต้องพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพให้มากขึ้น โดยทุกภาคส่วนควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้หญิง ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของสตรี โดยเฉพาะการให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เช่น การจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ ในกลุ่มสตรี การเสริมสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ โดยการผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของสตรี และให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน ด้วยเหตุและผลทั้งหลายเหล่านี้ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยามู จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะสตรีตำบลยามู ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองของกลุ่มสตรี เพื่อป้องกันปัญหาและโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ ในสตรี

 

2 2 เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพสตรีเพื่อการป้องกันโรคต่าง ๆ ในสตรี

 

3 3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดไปดูแลบุคคลในครอบครัวหรือบอกกล่าวแก่บุคคลอื่นได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67มิ.ย. 67
1 โครงการส่งเสริมสุขภาวะสตรีตำบลยามู ประจำปีงบประมาณ 2567 (หมู่ที่ 3)(9 พ.ค. 2567-30 มิ.ย. 2567) 0.00    
รวม 0.00
1 โครงการส่งเสริมสุขภาวะสตรีตำบลยามู ประจำปีงบประมาณ 2567 (หมู่ที่ 3) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สตรีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองทั้งในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร อาณามัยเจริญพันธุ์ และการป้องกันโรคต่าง ๆ ในกลุ่มสตรี

2 สตรีมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรคมากขึ้น 3 เกิดเครือข่ายสตรีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพอนามัยสตรีให้แก่สตรีในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือแก่บุคคลในครอบครัวได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 12:05 น.