กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กและเยาวชนวัยใส ใส่ใจเพศศึกษา ห่างไกลยาเสพติดและการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5287-2-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าแพ
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 24,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูนัยนัน อินตาฝา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 24,850.00
รวมงบประมาณ 24,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย เพราะการติดโรคทางเพศสัมพันธ์นั้นได้ชี้ให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อจำแนกรายอายุของผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วพบว่า กลุ่มที่มีอายุน้อย 15 - 24 ปี ซึ่งเป็นเยาวชนและวัยเรียนพบในสัดส่วนที่มากที่สุด และมีสัดส่วนการติดป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่าการติดโรคทางเพศสัมพันธ์นั้นมีแนวโน้มการป่วยในผู้ที่มีอายุน้อยลงไปทุกปีซึ่งสอดคล้องกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มนักเรียน พบว่า สัดส่วนของนักเรียนชายและหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วยยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกนั้นมีอายุเฉลี่ยน้อยลงทุกกลุ่ม นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนหญิงมีการใช้ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพสสัมพันธ์ครั้งแรกในระดับต่ำ ส่วนนักเรียนชายมีการใช้ถุงยางอนามัยมากขึ้น แต่ก็ยังมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยที่ต่ำมาก
  ดังนั้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเยาวชนเรื่องเพศ เป็นมาตราการที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศอย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้เความเข้าใจเกี่ยวกับการเพศสัมพันะ์ที่ปลอดภัย และมีทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยยับยั้งการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ช่วยลดจำนวนคู่นอนและเพิ่มอัตราใช้ถุงยางอนามัยซึ่งจะนำไปสู่การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดเป็นภัยร้ายที่สร้างความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติมาทุกยุคสมัย ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดมรการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ ทวีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศชาติ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ยาเพสติดได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จำนวนคดี จำนวนของกลาง กลุ่มเครื่อข่าย และการแพร่ระบาดซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทุกด้าน ที่สำคัญเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมากที่ข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ทางใดฏ้ทางหนึ่ง จึงมีการรณรง๕ืจากหลายภาคส่วนให้ทุกคนตระหนักถึงความร้ายแรงของยาเสพติดที่ไม่ต่างจากมะเร็งร้ายที่กัดกินสังคมซึ่่งทุกคนต้องช่วยกันป้องกันและสอดส่องดูแล
  สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าแพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเพสติดโรคเอดส์ เพศศึกษาและการตั้งครรภ์ก่อน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเองและการป้องกันยาเพสติดโดยให้เด็กแลเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิดมีการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาศให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปํญหาทางเพศ และการป้องกันยาเพสติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความตระหนักองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นการเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 ได้ความรู้บทบาทหน้าที่และเห็นคุณค่าของคสามเป็นชาย/หญิง ในสังคม ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้เสริมสร้างภูมิกันพฤติกรรมทางเพศ

80.00
2 2. เพื่อเสริมสร้างความภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น มีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

ผู้เข่าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีทักษะในการปฏิเสธพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิตได้

80.00
3 3. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับรับผิดชอบ

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 24,850.00 0 0.00
13 พ.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 60 24,850.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักถึงองค์ความรู้เรื่องบทบาท คุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธ์ภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น และการเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความภาคภูมิใจในตนเอง มีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีภูมิคุ้มกัน ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญญและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อยวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2567 08:59 น.