โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 7,13
ชื่อโครงการ | โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 7,13 |
รหัสโครงการ | 60L332113 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ปันแต |
วันที่อนุมัติ | 14 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 17,260.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางดารุณี มากแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางทัศนีย์ คงเทพ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.783,100.051place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2560 | 30 ก.ย. 2560 | 17,260.00 | |||
รวมงบประมาณ | 17,260.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10โรคความดันโลหิตสูง708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราตายต่อแสนประชากรมี ดังนี้โรคมะเร็งทุกชนิด85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพ.ศ. 2550)ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัดรวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น และจากสำรวจการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2550พบว่าคนไทยเพียง 5 ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้สำหรับการรับประทานอาหารนั้นจากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า 15 ปี โดยการตรวจร่างกายครั้ง ที่ 3 ของภาควิชาโภชนาวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษา อายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 39, 290 คน พบว่า กลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ 5.97 และ 4.56 วันต่อสัปดาห์ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าประชากรไทยส่วนมากบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักสดและผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม)และลดอาหารไขมันซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลง
จากการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 35ปีขึ้นไป ปี 2559หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 7 บ้านโพธิ์ จำนวน 91 คน พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต ๑๒o/๘o-๑๓๙/๘๙ มิลลิเมตรปรอท (เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจหลอดเลือด) จำนวน 41 คนคิดเป็นร้อยละ 45.05 พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต ๑4o/๙o มิลลิลิตรปรอท ขึ้นไป(สงสัยเป็นโรค)
จำนวน10 คน คิดเป็นร้อยละ 10.99 และผลจากการคัดกรองโรคเบาหวาน ม.7 จำนวน 108 คน ที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสียง จำนวน 25 คนคิดเป็นร้อยละ 23.18 และจากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 13 บ้านเขากลาง จำนวน 78 คน พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต ๑๒o/๘o-๑๓๙/๘๙ มิลลิเมตรปรอท (เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจหลอดเลือด) จำนวน 37คน คิดเป็นร้อยละ 47.44 พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต ๑4o/๙o มิลลิลิตรปรอท ขึ้นไป(สงสัยเป็นโรค) จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5.13 และผลจากการคัดกรองโรคเบาหวาน ม.13 จำนวน 101 คน ที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสียง จำนวน 41 คน คิดเป็น ร้อยละ 40.59 และที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง อยู่ในกลุ่มสงสัยเป็นจำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.97
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปันแต จึงจัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งความดันโลหิต โรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้นโดยดำเนินการในหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 13ตำบลปันแตอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้าน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ -๕ วันวันละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับกินผักอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัม และลดอาหารไขมัน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต และส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและมีสุขภาพแข็งแรง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการกินผักผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5ขีดขึ้นไป(ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด |
||
2 |
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 31 มี.ค. 60 | ประชุมชี้แจง | 100 | 2,050.00 | - | ||
1 เม.ย. 60 - 31 พ.ค. 60 | ศึกษาข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน | 100 | 4,610.00 | - | ||
1 เม.ย. 60 - 31 ส.ค. 60 | สำรวจพฤติกรรมสุขภาพ | 100 | 400.00 | - | ||
20 เม.ย. 60 - 31 ก.ค. 60 | จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร) | 100 | 9,600.00 | - | ||
31 ส.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 | สรุปผลการดำเนินงาน | 100 | 600.00 | - | ||
รวม | 500 | 17,260.00 | 0 | 0.00 |
4.1ประชุมเครือข่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 45.2 ประสานงานภาคีเครือข่ายแต่งตั้งคณะทำงาน 4.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.4 ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและรวบรวมผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ
4.5 จัดทำเวทีประชาคม แต่งตั้งคณะทำงานระดับหมู่บ้านขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4.6 ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์โรคไม่ติดต่อของหมู่บ้าน 4.7 สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพเบื้องต้นและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน ๒ ครั้ง 4.8 จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างปัจจัยเอื้อต่อการลดโรคและควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ 4.9 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ด้านการออกกำลังกายและด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ 4.10 ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย 4.11 สรุปรายงานผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ
1 ประชาชนในหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่เหมาะสมอย่างน้อย3 พฤติกรรม คือ กินผัก ผลไม้สด ปลอดสารพิษทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัมต่อวันต่อคน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง และออกกำลังกายตามวัยที่เหมาะสมอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน 2 เกิดหมู่บ้านต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 14:09 น.