กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ปี พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L5170-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนโส
วันที่อนุมัติ 3 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 28,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุมณฑา เศรษฐการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังไม่เข้าถึงข้อมูลและบริการด้านเพศ ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้ และทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำดนิดอย่างถูกวิธี และไมาสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้เมื่ออยู่กับเพศตรงข้าม ถูกกระตุ้นอารมณ์เพศจากสื่อทางลบ และใช้สารเสพติด รวมทั้งการเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น ที่สถานการณ์และแนวโน้มขณะนี้น่าเป็นห่วง ผลกระทบอีกประการสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น นอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ คือการตั้งท้อง ในวัยรุ่นเป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ และเป็นการตั้งครรภ์นอกสมรส ในกลุ่มที่มีการตั้งครรภ์นี้ร้อยละ 30 จบลงด้วยการทำแท้ง นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากสถานศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ปัจจุบันพบว่าเด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย คือ อายุประมาณ 12 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและความรับผิดชอบของตนเอง ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญส่งผลเสียทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และตามมาด้วยผลกระทบในระยะยาว       ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโส จึงได้จัดโครงการขึ้นเพื่อให้วัยรุ่นรับความรู้/ทักษะ รวมถึงการเข้าถึงบริการ โดยจะเน้นในเรื่อง การตั้งครรภ์ ยาเสพติด และโรคเอดส์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ การจัดการอารมณ์ตนเองการเรียนรู้เรื่องเพศและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะ การจัดการอารมณ์ตนเองการเรียนรู้เรื่องเพศและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2 2.เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มวัยรุ่น

ร้อยละ80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ปี พ.ศ.2567(1 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) 28,320.00                        
รวม 28,320.00
1 โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ปี พ.ศ.2567 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 209 28,320.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ 8 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2.ความรู้และฝึกทักษะ การจัดการอารมณ์ตนเองการเรียนรู้เรื่องเพศและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใน รร. ทั้ง 3 แห่ง และ กศน. 186 28,320.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 3.จัดตั้งกลุ่มอาสาใน รร. นำร่อง 1 แห่งตั้งแต่อายุ 10-13 ปี เน้นดำเนินการคลินิกวัยรุ่นโดยเน้นการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ยาเสพติดและโรคเอดส์ 15 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพัฯธ์ก่อนวัยอันควร 2.เยาวชนมีความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการตนเอง 3.สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2567 13:53 น.