กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L5170-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 3 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมยุรา ชูทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ของประเทศไทยปัจจุบัน มีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ.2560-2573 โดยมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติประเทศไทย 20 ปี และพันธะสัญญานานาชาติที่จะร่วมกัน หยุดยั้งการระบาดของเอชไอวีไม่ให้เป็นปัญหาสาธารณสุข ภายในปี ค.ศ.2030 หรือ ปี พ.ศ.2573 ยุทธศาสตร์นี้ มีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ 1.ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้เหลือไม่เกินปีละ 1,000 ราย 2.ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้เหลือไม่เกินปีละ 4,000 ราย 3.ลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะลงร้อยละ 90 โดยมีหลักการพื้นฐาน ดังนี้ 1.การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ไม่มีประชากรใดถูกละเลย 2.การเคารพ ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน และความเสมอภาคทางเพศ 3.การเป็นเจ้าของและร่วมรับผิดชอบของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน การดำเนินการเพื่อจะบรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ประการ โดยยุทธศาสตร์ในการดำเินการ 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1.มุ่งเน้นและเร่งรัดจัดชุดบริการที่มีประสิทธิผลสูงและรอบด้าน ให้ครอบคลุมพื้นที่และประชากรที่อยู่ในภาวะเสี่ยงและมีโอกาสรับและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีสูง 2.ยกระดับคุณภาพและบูรณการ การดำเนินงานป้องกันที่มีประสิทธิผลเดิมให้เข้มข้นและยั่งยืนในระบบ 3.พัฒนาและเร่งรัดการรักษา ดูแล และช่วยเหลือทางสังคมให้มีคุณภาพรอบด้านและยั้งยืน 4.ปรับภาพลักษณ์ ความเข้าใจ เสริมสร้างความเข้มแข็ง ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน รวมทั้ง กลไกการคุ้มครองสิทธิ เพื่อลดการรังเกียจ กัดกัน การเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับเอชไอวีและเพศภาวะ 5.เพิ่มความร่วมรับผิดชอบการลงทุน และประสิทธิภาพการจัดการในทุกภาคส่วน ทั้งระดับนานาชาติ ระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ 6.ส่งเสริมและพัฒนาการเข้าถึง และการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ และการวิจัยที่รอบด้านและมีประสิทธิภาพ       ประเด็นหนึ่งที่อยู่ในยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเอดส์ คือการลดการรังเกียจ กีดกัน และเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อ ได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจในเรื่องโรคเอดส์ว่าไม่ใช่โรคที่น่ารังเกียจ ไม่ได้ติดต่อง่าย บุคคลทั่วไปสามารถที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการยอมรับในสังคม และที่สำคัญ คือมีความมั่นใจในการเข้าศุ่กระบวนการรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ประเทศไทยได้มีการผลักดันให้มีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาเอดส์ในระดับชาติ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม เครือข่ายผู้ร่วมกับเชื้อเอชไอวี และภาคเอกชน เช่นการสนับสนุนให้มีเพสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ใช้ถุงยางอนามัย 100 เปอร์เซ็น การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก การวิจัยวัคฉีนป้องเอชไอวี การให้ความรู้เรื่องโรค การเข้าถึงการตรวจเลือดและการให้การรักษาผู้ติดเชื้อด้วยยาต้านไวรัสอย่างครอบคลุมทั่วถึงในทุกสิทธิ์การรักษา จนทำให้ประเทศไทยได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากอนามัยโลก เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2559 ว่าสามารถยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกได้สำเร็จเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ เป็นประเทศที่สองของดลกที่สามารถลดอัตราการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 2 มีแน้วโน้มที่จะเป็น AIDS Free Generation หรือไม่มีโรคเอดส์ในเด็กยุคต่อไป โรคร่วมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น     จากที่มีการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี ด้วยยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่องมาเป็นระยะ เวลาเกือบ 20 ปี ประกอบกับการประชาสัมพันธ์ให้ความเข้าใจในโรคว่าเป็นโรคี่รักษาได้ ผู้ติดเชื้อสามารถมีคุณภาพแข็งแรง ดำรงชีวิตได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษา และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ภาพความน่ากลัวของโรคเอดส์ก็ลดลงไป ทำให้การระวังป้องกันลดน้อยลงไปด้วย ผู้ติดเชื้อที่ได้รับการรักษาจนร่างกาย แข็งแรงเป็นปกติที่ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจึงสามารถี่จะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะรับเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นได้เช่นเดียวกัน
    ช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากหลายสถาบันพบตรงกันว่า การติดเชื้อซิฟิลิสซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560 จึงเสนอให้มีการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิสในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในระหว่างการรักษาปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นเดียวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นก็สามารถจะเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในทางกลับกันการพบผู้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดใดก็ตาม จึงถือว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้เช่นเดียวกัน ในทางปฏิบัติจึงควรต้องมีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในผู้ที่มีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นด้วย แม้จะไม่มีอาการ เพราะการดำเนินโรคของการติดเชื้อเอชไอวีช้ากว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นมาก โดยเแลี่ยหลังได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายจนกว่าเริ่มมีอาการใช้ระยะเวลาประมาณ 5-7 ปี ทั้งนี้แล้วแต่สภาพร่างกาย การติดเชื้อเอชไอวีส่งผลใหเภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ทำให้การติดเชื้อต่างๆ เกิดง่ายขึ้น โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ยังทำให้โรคหลายโรคมีอาการรุนแรงหรืออันตรายมากขึ้น พบว่าผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคต่างๆ นอกจากโรคติดต่อเชื้อเพิ่มขึ้น เช่น โรคมะเร็งบางชนิด โรคหลอดเลือด โรคตับ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่าง ปัจจุบันการดูแลรักษาการติดเชื้อเอชไอวีจึงมิได้อยู่แค่เพียงแค่การดูแลให้ผู้ติดเชื้อรับยาต่อเนื่อง และมีสุขภาพแข็งแรงปกติเท่านั้น แต่ยังมีแนวทางในการติดตามเฝ้าระวังโรคร่วมที่พบร่วมกันได้ ทั้งนี้โรคร่วมดังกล่าวอาจเป็นผลจากการที่ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง อายุของผู้ติดเชื้อที่มากขึ้น หรือจากยาต้านไวรัสที่ได้รับอยู่ โดยโรคที่พบอย่างมีนัยสำคัญ คือ 1. วัฯโรค 2.ไวรัสตับอักเสยยี 3.ไวรัสตับอักเสบซี 4.โรคซิฟิลิส 5.โรคหนองในแท้ 6.โรคหนองในเทียม
    สำหรับสถานการณ์เอชไอวี โรคเอดส์ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ตั้งแต่ พ.ศ.2560 ถึง 2565 พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีสะสมที่มีชีวิตอยู่ จำนวน 22,705 ราย เมื่อแยกรายจังหวัด พบว่าจังหวัดสงขลามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงสุด 9,728 ราย รองลงมาคือ ตรัง 3,776 ราย พัทลุง 2,811 ราย นราธิวาส 2,075 ราย ยะลา 1,472 ราย สตูล 1,457 รายและปัตตานี 1,386 ราย โดยในปี พ.ส.2565 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ จำนวน 949 ราย ทั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่และได้รับยาต้านไวรัส สะสม 19,198 ราย (ข้อมูลจาก NAP Wed Report ณ วันที่ 7 เมษายน 2566
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วมในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโรคติดต่อทางเพศและโรคร่วม ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ปีงบประมาณ 2567 เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อและสามารถควบคุมโรค เพื่อให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม ร้อยละ 80

2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม และสังเกตอาการของโรคได้

ลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม และสังเกตอาการของโรคได้ ร้อยละ 100

3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยสงสัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม ที่ตรวจพบได้รับการรักษาทุกราย

ผู้ป่วยสงสัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม ที่ตรวจพบได้รับการรักษาทุกราย ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 โครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ปีงบประมาณ 2567(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 20,850.00                        
รวม 20,850.00
1 โครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ปีงบประมาณ 2567 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 255 20,850.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 1.กิจกรรมจัดเตรียมเอกสารความรู้ 100 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2.กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม 100 18,600.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 3.กิจกรรมเดินรณรงค์วันเอดส์โลก ในหมู่บ้าน ในวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป้นวันเอดส์โลก อสม. จำนวน 56 คน 55 2,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม และสังเกตอาการของโรคได้ 3.เพื่อให้ผู้ป่วยสงสัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคร่วม ที่ตรวจพบได้รับการรักษาทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2567 14:05 น.