กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโทษและพิษภัยของสารเสพติด แก่นักเรียน/เยาวชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโทษและพิษภัยของสารเสพติด แก่นักเรียน/เยาวชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L5170-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 3 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมยุรา ชูทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างกว้างขวางและรุนแรงมากขึ้น สืบเนื่องจากประเทศไทย ได้ปลดล็อคกัญชากับพืชกระท่อม ให้มีการใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย เมื่อ ปี พ.ศ.2564 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่5 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2564 เป็นการกำหนดยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภทที่ 5 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันี่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้การนำพืชกระท่อมมาแปรรูปหรือนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ หรือเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร เครื่องสำอาง ผู้ผลิตจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย   ปี พ.ศ.2565 พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ.2565 กำหนดการควบคุมพืชกระท่อมเป็นการเฉพาะโดยอยู่ในควารับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม ั้งนี้ยังมีการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กวัยรุ่น วัยเรียนอยากรู้อยากลอง และ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสพยาเสพติดมากขึ้น   นโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 285/2562 ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2562 เรื่องการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ให้คณะกรรมการอำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจ
1.นำนโยบายยุทธศาสตร์ แนวทางและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ป.ป.ส. ไปสู่การปฏิบัติ 2.จัดให้มีแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ 3.อำนวยการ ประสานงาน สั่งการ เร่งรัด กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานส่วนราชการและองค์กรต่างๆ ี่เกี่ยวข้อง ทุกระดับ   หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0505/35248 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เรื่องแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2563-2565 คณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบ แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2563-2565 สอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขและเป็นนโยบายสำคัญของปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ.2564-2565 ที่จะต้องให้การดูแลบำบัดรักษาฟื้นฟูและติดตามผู้ป่วยยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ขยายศักยภาพของสถานพยาบาล และเสริมความเข้มแข็งให้แก่ภาคีเครือข่าย ครอบครัวและชุมชน การลดจำนวน ผู้เสพติดยาเสพติดเข้าสู่เรือนจำและพัฒนาแนวทางเพื่อลดผลกระทบต่อสังคมและตามประมวลกฏหมายยาเสพติด กำหนดให้สำนักงานปลัดกระรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ 1 ขับเคลื่อนนโยาบายและยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดและพฤติกรรมของผู้ติดยาเสพติด 2.ประสานงานกับหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องัทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดและพฤติกรรมของผู้ติดยาเสพติด 3.สนับสนุนการดำเนินการเพื่อรับรองคุณภาพศูนย์คัดกรองสถานพยาบาลยาเสพติด สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม   สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาแล้ว เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างเร่งด่วน บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงขอให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดอย่างครอบคลุมและทันท่วงที โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดำเนินการดังนี้ 1.การดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกัน บำบัดและปราบปรามยาเสพติด ให้ยึดนโยบายและแนวทาง การปฏิบัติงานของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Covid-19 2.เตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศุนย์คัดกรองผู้ติดยาเสพติดในระดับตำบล และพัฒนาศักยภาพบุคลากร ร่วมกับชุดปฏิบัติการประจำตำบล ของกระทรวงมหาดไทย 3.จัดบริการด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งสนับสนุนร่วมดำเนินงานบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และสนับสนุนการดำเนินงานของชุดปฏิบัติการตำบลในการจัดการด้านยาเสพติด 4.ดำเนินการจัดระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยยาเสพติด และประสานการส่งต่อการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วย ยาเสพติดไปโรงพยาบาล กรณีเกินศักยภาพการบำบัดรักษา 5.บันทึกข้อมูลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด บสต. และข้อมูลกำลังพลผู้ปฎิบัติงานด้านยาเสพติด ในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน 6.สนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตหรือยาเสพติด อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้มีความรู้และสามารถบำบัดฟื้นฟู ติดตามให้ความช่วยเหลือ ผู้ติดยาเสพติด ในชุมชนและสนับสนุนการดำเนินงานหน่วยงานภาคที่เกี่ยวข้อง     จากการสำรวจในจังหวัดสงขลาพบว่า มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดประเภท กัญชา น้ำกระท่อม ยาบ้า ยาไอซ์ มากขึ้น สถานการณ์ในสถานศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ใช้ผู้เสพติด เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ดังนั้นการมีแนวทางหรือ มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษษ จึงมีความสำคัญที่ต้องส่งเสริม ป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษา เพราะหากเกิดปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา จะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยกรบุคคลที่เป็นกำลังของชาติในอนาคต เกิด ความล้มเหลวทางการศึกษา ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติ     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิการ เรื่องโทษและพิษภัยของสารเสพติดแก่นักเรียน/เยาวชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ขึ้น เพื่อให้นักเรียน/เยาวชน ี่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ในโทษและพิษภัยของสารเสพติด และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัยและห่างไกลจากสารเสพติดได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน/เยาวชน มีความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของสารเสพติด

1.นักเรียน/เยาวชน มีความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของสารเสพติด ร้อยละ 80

2 2.เพื่อให้นักเรียน/เยาวชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัยและห่างไกลจากสารเสพติดได้

2.นักเรียน/เยาวชน สามารถบอกแนวทางการสังเกตพฤติกรรมและแนะนำเพื่อนเบื้องต้นเรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติดได้ ร้อยละ80

3 3.เพื่อให้นักเรียน/เยาวชน สามารถนำความรู้ไปแนะนำคนในครอบครัว เพื่อนในโรงเรียน ชุมชนได้

นักเรียน/เยาวชน สามารถนำความรู้ไปแนะนำคนในครอบครัวเพื่อนในโรงเรียน ชุมชนได้ ร้อยละ 80

4 4.เพื่อให้นักเรียน/เยาวชน สามารถบอกแนวทางในการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นักเรียน/เยาวชน สามารถบอกแนวทางในการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 โครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโทษและพิษภัยของสารเสพติด แก่นักเรียน เยาวชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 20,850.00                        
รวม 20,850.00
1 โครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโทษและพิษภัยของสารเสพติด แก่นักเรียน เยาวชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 20,850.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 29 ก.พ. 67 1.กิจกรรมจัดเตรียมเอกสารความรู้ 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2.กิจกรรมโครงการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโทษและพิษภัยของสารเสพติด แก่นักเรียน เยาวชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 100 18,600.00 -
17 พ.ค. 67 3.กิจกรรมเดินรณรงค์วันต่อต้านยาเสพติดในหมู่บ้าน ในวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติด 0 2,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน/เยาวชน มีความรู้เรื่องโทษและพิษภัยยาเสพติด 2.นักเรียน/เยาวชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัยและห่างไกลจากสารเสพติดได้ 3.นักเรียน/เยาวชน สามารถนำความรู้ไปแนะนำคนในครอบครัว เพื่อนในโรงเรียน ชุมชนได้ 4.นักเรียน/เยาวชน สามารถบอกแนวทางในการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2567 14:12 น.