โครงการภาคีเครือข่ายสุขภาพห่วงใยใจดูแลกลุ่มเปราะบาง ตำบลบางโกระ ปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการภาคีเครือข่ายสุขภาพห่วงใยใจดูแลกลุ่มเปราะบาง ตำบลบางโกระ ปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L2982-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางโกระ |
วันที่อนุมัติ | 17 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 24,225.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมานิตย์ ครอบครอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.76,101.108place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 17 ก.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 24,225.00 | |||
รวมงบประมาณ | 24,225.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 13 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 51 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 11 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตำบลบางโกระมีผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 74 ราย ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยแยกเป็นผู้ป่วยติดเตียง 2 คน ติดบ้าน 11 คน จำนวนผู้ป่วยเรื้อรัง 51 คน และผู้พิการ 11 คน รวมทั้งหมด 75 คน ซึ่งเป็นปัญหาในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ การเยี่ยมบ้านเป็นการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อที่จะได้หาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับวิถีของชุมชน การเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง ถือเป็นการประเมินสุขภาพของประชาชน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคล และการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนของการที่เกิดโรคขึ้นมาใหม่และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจด้วย /ผู้ป่วย… ผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับ บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีความสะอาด สะดวก ปลอดภัย กับผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สมเกียรติ มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ดังนั้น รพ.สต.บางโกระ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางโกระ จึงได้บูรณาการร่วมกันจัดกิจกรรมภาคีเครือข่ายสุขภาพห่วงใยใส่ใจกลุ่มเปราะบาง เสริมพลังกลุ่ม ติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มผู้ป่วยต่าง ๆ ในตำบลบางโกระ โดยได้เล็งเห็นว่าหากผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องต่อเนื่องผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเสียชีวิตอย่างมีคุณค่า จึงได้จัดทำโครงการภาคีเครือข่ายสุขภาพห่วงใยใส่ใจดูแลกลุ่มเปราะบาง ตำบลบางโกระ และเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ดูแลมากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อดูแลสร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน 2. เพื่อให้ความรู้ เพิ่มพูนทักษะให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง ใน การดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี 3. เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางสามารถฟื้นฟู สมรรถภาพทาง ร่างกายและจิตใจ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ 4. เพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้านติดตามอาการผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 25 | 24,225.00 | 0 | 0.00 | 24,225.00 | |
20 ก.ย. 67 | โครงการภาคีเครือข่ายสุขภาพห่วงใยใส่ใจดูแลกลุ่มเปราะบาง ตำบลบางโกระ ปี 2567 | 25 | 24,225.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 25 | 24,225.00 | 0 | 0.00 | 24,225.00 |
. ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยได้
2. 2. ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน มีความรู้เรื่องการทำกายภาพบำบัดและการดูแลตนเองมากขึ้น
3. 3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน มีความรู้ในการทำกายภาพบำบัด และมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน
4. อย่างถูกวิธีมากขึ้น
5. 4. ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางได้รับการลงเยี่ยมและการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
6. 5. ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางได้รับการส่งเสริมป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจ เกิดการระดมความ
7. คิดเห็นและเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 10:01 น.