โครงการอบรมให้ความรู้ปลูกผักไร้สารพิษในชุมชน หมู่ที่ 5
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้ปลูกผักไร้สารพิษในชุมชน หมู่ที่ 5 |
รหัสโครงการ | 67-L2982-2-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพตำบลบางโกระ |
วันที่อนุมัติ | 17 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 19,433.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลเลาะ สาและ |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.76,101.108place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 17 ก.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 19,433.00 | |||
รวมงบประมาณ | 19,433.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำ มาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำ ลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมาทำการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันผักที่นำมารับประทานจะได้มาจากการซื้อจากตลาด ซึ่งเป็นผักที่สมบูรณ์ไปด้วยใบ ก้าน และดอก ดูแล้วอยากที่จะนำไปทำอาหารมารับประทาน แต่ในลึกๆแล้วผักเหล่านั้นผ่านการปลูกมาอย่างไร การที่จะเลือกซื้อผักมารับประทานนั้น ควรที่จะเลือกผักที่มีใบขาด หรือเป็นรูที่แมลง ซึ่งเป็นหลักในการซื้อผัก แต่ที่จริงๆแล้วเราสามารถที่จะปลูกผักมารับประทานได้เอง โดยที่ไม่ต้องเสียงที่จะได้รับสารเคมี เพราะเราปลูกเองทำให้มีความมั่นใจที่จะรับประทาน การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง ในการที่จะเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การปลูกผักด้วยตนเอง กลุ่มพัฒนา หมู่ 5 ตำบลบางโกระ จึงได้จัดตั้งโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผุ้บริโภค ข้อที่ 2 เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย ข้อที่ 3 เพื่อลดต้นทุการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช ข้อที่ 4 เพื่อลดปริมาณการนําเข้าสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช ข้อที่ 5 เพื่อเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ทำให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น ข้อที่ 6 เพื่อลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและน้ำ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 30 | 19,433.00 | 0 | 0.00 | 19,433.00 | |
21 ก.ย. 67 | โครงการอมรมให้ความรู้ปลูกผักไร้สารพิษในชุมชน หมู่ที่ 5 | 30 | 19,433.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 30 | 19,433.00 | 0 | 0.00 | 19,433.00 |
- พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
- เกษตรกร ผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและยากำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย
- ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกัน และยากำจัดศัตรูพืช
- ลดปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกัน และยากำจัดศัตรูพืชได้
- ช่วยให้เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้ มีคุณภาพ ทำให้สามารถขายผลผลิตได้
- ผู้จัดทำโครงการฯ และชาวบ้าน ได้รับความรู้ในด้านการปลุกผักปลอดสารพิษมากยิ่งขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 10:18 น.