กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะลา


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจ ”

ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายไพบูลย์ ดำสมุทร

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจ

ที่อยู่ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 67 - L4138 – 02 - 10 เลขที่ข้อตกลง 019/67

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2567 ถึง 20 กันยายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจ จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 67 - L4138 – 02 - 10 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 พฤษภาคม 2567 - 20 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 18,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวก และด้านลบต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และคุณภาพชีวิตของประชาคมโลก สังคมไทยจึงต้องมีการปรับตัวโดยการ “พัฒนาคน”ทั้งด้านคุณภาพและสมรรถนะของบุคคลให้มีพื้นฐานในการคิด เรียนรู้ และทักษะการจัดการและการดำรงชีวิต ที่สามารถเผชิญกับปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจำเป็นต้องปรับกระบวนการพัฒนาพร้อมกับการสร้างโอกาสและหลักประกันให้ทุกคนในสังคม โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยได้รับการพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา กระบวนการเรียนรู้ และทักษะความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อประโยชน์ในการร่วมพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติต่อไป     เด็กวัยเรียนและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญยิ่งของการพัฒนา ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปีเด็กสากล พุทธศักราช 2522 ที่ว่า“เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธำรงรักษา ความสุขสงบของประชากรโลก”และในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ (UN Convention on the right of the child) ซึ่งประเทศไทยลงนามและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 มีสาระสำคัญที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเด็ก4 ประการ คือ สิทธิในการอยู่รอด (Servival Rights)สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Protection Rights) สิทธิในการพัฒนา (Development Rights) และสิทธิในการมีส่วนร่วม (Participation Rights) ซึ่งรัฐต้องดำเนินการให้เด็กได้รับการคุ้มครองในสิทธิดังกล่าว การลงทุนกับเด็กและเยาวชนย่อมมีผลคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนใดๆ เด็กที่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง เหมาะสมจะนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สภาพปัญหาเด็กและเยาวชน จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อวิถีชีวิตของเด็กวัยเรียนและเยาวชน โดยเฉพาะด้านพฤติกรรมเสี่ยงจากการได้รับแบบอย่างที่ไม่เหมาะสม มีค่านิยมและวัฒนธรรมตามกระแสสังคมที่ไม่ถูกต้อง นำไปสู่ปัญหาที่เกิดจากตัวเด็ก ครอบครัว และสภาพแวดล้อมทางสังคมเช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์โรคเอดส์ ยาเสพติด ความรุนแรงและอุบัติเหตุ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าว หากไม่มีการป้องกันล่วงหน้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียนานัปการจำเป็นต้องให้ความสำคัญและเร่งสร้างคุณภาพทั้งการศึกษาควบคู่ไปกับสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
การเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะ สุขภาพกับการศึกษา ต้องดำเนินการควบคู่กันไปในลักษณะเกื้อกูลซึ่งกันและกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อเด็กนักเรียนและเยาวชนดังนั้นนับตั้งแต่ปี 2540 แนวทางการพัฒนาเด็กวัยเรียนและเยาวชน จึงมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้นทั้งเชิงยุทธศาสตร์และเป้าหมาย โดยเฉพาะจาก 2 มิติสำคัญของนโยบายชาติ ได้แก่   1. มิติแห่ง “การปฏิรูปการศึกษา” กล่าวถึง “การประกันคุณภาพการศึกษา”ด้านกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานกระบวนการจัดการศึกษาตามปรัชญาหลัก 3 ประการ คือ การศึกษาเพื่อปวงชนการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการแก้ไขปัญหาทั้งมวล   2. มิติแห่ง “การปฏิรูประบบสุขภาพ” กล่าวถึง “การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”ซึ่งเป็นการให้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน โดยกระบวนการจัดการด้านสุขภาพตามปรัชญาหลัก 3 ประการ คือ สุขภาพเพื่อปวงชน สุขภาพเพื่อชีวิต และสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งมวล
การพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน การพัฒนาเด็กและเยาวชน ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน โดยเฉพาะด้านสุขภาพซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต หากเด็กมีพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีทักษะ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และมีความพร้อมในการเรียนรู้ ย่อมส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน จะประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใด อยู่ที่กระบวนการจัดการโดยมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพของสถาบันการศึกษาให้สามารถเป็นแกนนำหรือศูนย์กลางการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ครอบครัวของเด็ก ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาให้เด็กและเยาวชนไทยมีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมกับประเทศอื่น จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นโรงเรียนบ้านปาโจได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยและสุขนิสัยที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนที่ดีต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการบริการด้านสุขภาพอนามัยที่ดี
  2. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน – ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียนและชุมชน
  3. เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี
  4. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำที่ถูกต้องและสามารถช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบเหตุทางน้ำได้
  5. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการนำพืชที่เป็นสมุนไพรมาทำยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้
  2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์
  3. ส่งเสริมภาวะโภชนาการ
  4. กิจกรรมว่ายน้ำเพื่อชีวิต
  5. กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาด้านสมุนไพรปาโจ
  6. กิจกรรมการพูดเสียงตามสายให้ความรู้ด้านการทานผักและผลไม้
  7. กิจกรรมการจัดบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับนิทรรศการอาหารที่ปลอดภัย
  8. กิจกรรม เสริมสร้างภาวะโภชนาการนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 58
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) นักเรียนมีสุขภาพอนามัยแข็งแรงสมบูรณ์ 2) นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 3) นักเรียนมีความรู้และนำความรู้ไปใช้ดูแลตนเองให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง 4) นักเรียนสามารถช่วยเหลือเพื่อนเมื่อได้รับบาดเจ็บได้ถูกต้อง 5) นักเรียนสามารถรักษาอาการปวดเมื่อยด้วยสมุนไพรจากภูมิปัญญาในชุมชนได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการบริการด้านสุขภาพอนามัยที่ดี
ตัวชี้วัด : นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการบริการด้านสุขภาพอนามัยที่ดีเช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
80.00

 

2 เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน – ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัด : มีความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน – ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียน และชุมชน
90.00

 

3 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี
ตัวชี้วัด : นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีและทำให้นำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
90.00

 

4 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำที่ถูกต้องและสามารถช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบเหตุทางน้ำได้
ตัวชี้วัด : นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำที่ถูกต้องและสามารถช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบเหตุทางน้ำได้
90.00

 

5 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการนำพืชที่เป็นสมุนไพรมาทำยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย
ตัวชี้วัด : นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการนำพืชที่เป็นสมุนไพรมาทำยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย
90.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 58
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 58
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการบริการด้านสุขภาพอนามัยที่ดี (2) เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน – ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียนและชุมชน (3) เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี (4) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำที่ถูกต้องและสามารถช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบเหตุทางน้ำได้ (5) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการนำพืชที่เป็นสมุนไพรมาทำยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้ (2) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ (3) ส่งเสริมภาวะโภชนาการ (4) กิจกรรมว่ายน้ำเพื่อชีวิต (5) กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาด้านสมุนไพรปาโจ (6) กิจกรรมการพูดเสียงตามสายให้ความรู้ด้านการทานผักและผลไม้ (7) กิจกรรมการจัดบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับนิทรรศการอาหารที่ปลอดภัย (8) กิจกรรม เสริมสร้างภาวะโภชนาการนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจ จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 67 - L4138 – 02 - 10

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายไพบูลย์ ดำสมุทร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด