โครงการการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพจิต
ชื่อโครงการ | โครงการการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพจิต |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.ตำบลสงเปือย |
วันที่อนุมัติ | 27 พฤษภาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุภาวดี นามมั่น |
พี่เลี้ยงโครงการ | 1.นางสาวปพิชญา รุ่งเรือง 2.นางสาวรัชนีวรรณ บุญปก |
พื้นที่ดำเนินการ | 9 หมู่บ้านในเขต ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร |
ละติจูด-ลองจิจูด | 15.649817,104.252357place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 10,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี | 2.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าเป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่มี ต่อการสูญเสีย ทั้งที่เกิดขึ้นจริง
หรือที่คาดการณ์ล่วงหน้าความเสียใจ ความผิดหวังที่เกิดจากการไม่ได้ดังหวัง หรือจากการเปลี่ยนแปลงของโชคชะตาชีวิตด้านลบจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของจิตใจ และรบกวนต่อการปฏิบัติหน้าที่ การงานอย่างมาก ถือว่า Depressionเป็น ความเจ็บป่วยจิตเวช อย่างหนึ่งที่มีความรุนแรงมีโอกาสที่จะเกิดซ้ำได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางสมอง ทำให้วงจรประสาทที่ควบคุมอารมณ์ความคิดการนอน การอิ่มการหิว ทำงานล้มเหลวหรือผิดปกติไปสารสื่อประสาทเสียสมดุลย์เมื่อเจ็บป่วยจะทำให้ศักยภาพในการทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆบกพร่องไม่ว่าด้านครอบครัว การงาน และการดูแลตนเอง อีกทั้งทำให้คุณภาพชีวิตและความผาสุกในชีวิตลดลงเกิดความสูญเสียต่อตนเองสังคมและประเทศชาติอย่างมหาศาล ผู้ที่มี ภาวะซึมเศร้ายังพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถิติจำนวน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขในปี 2542- 2544
มีจำนวน 61405ราย , 80673 ราย,59133 รายตามลำดับซึ่งเมือเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วย 5 ปี
ย้อนหลังพบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย ปีละ 21,272คน ส่วนจำนวน ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหรือฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2556- 2559 มีจำนวนเฉลี่ย21,138 คนต่อปี( 34.12 ต่อแสนประชากร)เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปจะมีปัญหาการฆ่าตัวตายมากกว่าถึง 8 เท่า วัยที่พยายามฆ่าตัวตายเสียชีวิตมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 18 – 40 ปี
จากปัญหาและเหตุผลดังกล่าว ทำให้ทราบถึงความสูญเสียอย่างรุนแรงและจำนวนค่าใช้จ่ายในการ
ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมากมาย สถานบริการตำบลสงเปือยได้มีการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ามาโดยตลอดแต่ยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักและทั้งยังขาดความรู้ความเข้าใจผิด คิดว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องธรรมดาเป็นแล้วก็หายเองและยังมีอคติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้านจิตเวชทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ในปี 256๗ นี้ ชมรม อสม.ตำบลสงเปือยได้ดำเนินงานแผนงานโครงการเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหานี้โดยใช้แนวคิดการบูรณาการ การส่งเสริม ป้องกันรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพปัญหาสุขภาพจิตแบบองค์รวมและสร้างเสริมพลังชุมชน โดยมี 4 ประสาน คือ สถานบริการสาธารณสุข ครอบครัวและชุมชน (บ้าน วัด โรงเรียน) และองค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีบทบาทการมีส่วนร่วมในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมผู้ป่วยให้มีศักยภาพในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี |
2.00 | 6.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 200 | 10,000.00 | 4 | 10,000.00 | 0.00 | |
27 มิ.ย. 67 | ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการแก่แกนนำสุขภาพจิต | 50 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
5 ก.ค. 67 | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ | 50 | 8,500.00 | ✔ | 8,500.00 | 0.00 | |
8 ก.ค. 67 - 8 ส.ค. 67 | เชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้สู่ชุมชน | 50 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
9 - 14 ส.ค. 67 | ติดตามประเมินผล | 50 | 1,500.00 | ✔ | 1,500.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 200 | 10,000.00 | 4 | 10,000.00 | 0.00 |
1.สถานบริการรมีระบบคุณภาพมาตรฐานการดูแลผู้มีปัญหาจิต 2.เกิดการเชื่อมโยงบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชน และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตแบบองค์รวมโดยใช้ชุมชนเป็นพื้นฐาน และสร้างเสริมพลังชุมชนในการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพจิต 3. แกนนำสุขภาพจิตประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 4. เกิดการเฝ้าระวัง ช่วยเหลือ ผู้มีปัญหาโรคซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายอย่างครบกระบวนการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 15:47 น.