กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยตำบลลิปะสะโง
รหัสโครงการ 67-L3071-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแพทย์แผนไทยและสมุนไพรตำบลลิปะสะโง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 26,929.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีฮาน เจะฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมภพ สุวรรณชมภู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.805,101.231place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2567 30 ก.ย. 2567 26,929.00
รวมงบประมาณ 26,929.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 13 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่เป็นลักษณะแนวสุขภาพแบบองค์รวม โดยองค์ความรู้ที่ใช้จะเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาแต่ในอดีตบวกกับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในปัจจุบัน หรือที่เราได้ยินว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อมาดูแลสุขภาพ โดยส่วนใหญ่แล้วศาสตร์การแพทย์แผนไทยใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูโดยการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การนวด การอบ การประคบด้วยสมุนไพรเพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยและเอื้ออาทรกัน จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพโดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งเป็นส่วนประกอบของสารอาหารและสรรพคุณทางยาในพืช ผัก ต่างๆ เราสามารถรู้ได้จากการศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาเกี่ยวกับสรรพคุณของพืชผัก และเมื่อนำไปใช้แล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วยสรรพคุณของพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดจะช่วยบำรุงและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ทำให้ในชุมชมมีความเอื้ออาทรต่อกัน เกิดการสร้างสรรค์ มีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ในชุมชนจึงควรนำความเป็นวิทยาศาสตร์ของพืชผักพื้นบ้านมาส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของชุมชนด้วย สมุนไพรกับขอบเขตของวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพทางกายและจิตใจของคนในชุมชน จึงควรมีการส่งเสริมการปลูกพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยาขึ้น เช่น ในบ้านก็มีการปลูกพืชผักสวนครัวพื้นบ้าน ไม้มงคลเอาไว้ หรือตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชนก็ปลูกพืช ผัก ผลไม้ที่ใช้ประกอบอาหารได้ พืชที่รักษาสภาพแวดล้อมหรือพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับชุมชน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและทางสรรพคุณทางยาแก่สุขภาพร่างกายและจิตใจให้มากที่สุด ในชุมชนจึงควรส่งเสริมให้มีการใช้พืช ผัก และผลไม้ต่างๆ เพื่อประกอบอาหารอย่างถูกวิธี ส่งเสริมสุขภาพทางจิตใจด้วยการส่งเสริมให้มีการสกัดและใช้น้ำมันระเหยจากพืชสมุนไพรต่างๆ
ตำบลลิปะสะโงมีสมุนไพรพื้นบ้านจำนวนพอสมควร แต่ขาดการนำภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ จึงมีการจัดทำโครงการนวัตกรรมสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของสมุนไพรเพิ่มขึ้น และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันโรคด้วยตัวเอง การใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรดูแลสุขภาพ เช่น การปลูกสมุนไพรกินเอง ถือเป็นการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน ลดปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย ที่อาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆและโรคมะเร็งอื่นๆ ได้ในอนาคต ดังนั้นทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลิปะสะโงจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมการปลูกสมุนไพร การปรับประยุกต์ใช้สมุนไพรในด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทย การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ รวมไปถึงการพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชนในการจัดการสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมในระดับเบื้องต้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของประชาชนในชุมชนมีความรู้และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน

 

85.00
2 2. ร้อยละของประชาชนใช้สมุนไพรไทยในด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการรักษาเบื้องต้น

 

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรพื้นบ้าน(14 มิ.ย. 2567-14 มิ.ย. 2567) 13,239.00                
2 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคลีนิกชมรมการแพทย์แผนไทย และรั้วสมุนไพร(14 มิ.ย. 2567-14 มิ.ย. 2567) 13,690.00                
รวม 26,929.00
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรพื้นบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 57 13,239.00 1 13,239.00 0.00
14 มิ.ย. 67 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน 57 13,239.00 13,239.00 0.00
2 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคลีนิกชมรมการแพทย์แผนไทย และรั้วสมุนไพร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,690.00 1 13,690.00 0.00
14 มิ.ย. 67 จัดตั้งคลีนิกชมรมการแพทย์แผนไทยและรั้วสมุนไพรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง 0 13,690.00 13,690.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 57 26,929.00 2 26,929.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำสมุนไพรไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยเบื้องต้นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2567 11:04 น.