กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคอุบัติใหม่
รหัสโครงการ 67-L7890-05-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลพะตง
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดย นายชัยณรงค์ ศรประสิทธิ์ ตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลพะตง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.868453,100.465412place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7747 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious Diseases) หมายถึง โรคติดเชื้อชนิดใหม่ ๆ ที่มีรายงานผู้ป่วย  เพิ่มมากขึ้นในระยะประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมา หรือโรคติดเชื้อที่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมไปถึงโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในที่ใดที่หนึ่ง หรือโรคที่เพิ่งจะแพร่ระบาดเข้าไปสู่อีกที่หนึ่ง และยังรวมถึงโรคติดเชื้อที่เคยควบคุมได้ด้วยยาปฏิชีวนะแต่เกิดดื้อยา เช่น โรคเอดส์ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และวัณโรคดื้อยา เป็นต้น โรคติดต่ออุบัติซ้ำ  (Re-emerging Infectious Diseases) หมายถึง โรคติดเชื้อที่เคยแพร่ระบาดในอดีตและสงบไปแล้วเป็นเวลานาน  หลายปี แต่กลับมาระบาดขึ้นอีก เช่น วัณโรค ไข้เลือดออก และมาลาเรีย เป็นต้น โดยองค์กรอนามัยโลกได้ให้นิยามโรคติดต่ออุบัติใหม่ว่าเป็นโรคติดต่อที่มีอุบัติการณ์ในมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่เพิ่งผ่านมา หรือมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งหมายความรวมถึงกลุ่มโรค ๕ กลุ่ม ดังนี้ ๑) โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ (New infectious organism) เช่น ซาร์ส เมอร์ส อีโบลา ๒) โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ (New geographical area) เป็นโรคที่มาจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง หรือข้ามทวีป เช่น ซาร์ส ๓) โรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases) เป็นโรคติดต่อที่เคยระบาดในอดีตและสงบไปนานแล้ว แต่กลับมาระบาดอีก เช่น คอตีบ ไอกรน      กาฬโรค ๔) เชื้อก่อโรคที่ดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistant organisms) เช่น Carbapenem-resistance enterobacteria (CRE) ๕) อาวุธชีวภาพ (Biological weapons) โดยใช้เชื้อโรคมาผลิตเป็นอาวุธชีวภาพ เช่น    แอนแทรกซ์ โดยประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่จาก ๓ สาเหตุ ดังนี้ ๑) โรคติดต่ออุบัติใหม่ หรืออุบัติซ้ำที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศ เช่น โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา คอตีบ และไอกรน ๒) โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจแพร่มาจากต่างประเทศ เช่น อีโบลา เมอร์ส ไข้เหลือง รวมถึงโรคที่มาจากสัตว์ เช่น ฝีดาษลิง      ๓) โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และโรคที่เกิดจากเชื้อดื้อยาชนิดใหม่     ดังนั้น เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคอุบัติใหม่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบล  พะตง จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคอุบัติใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพะตง อาศัยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๐ ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ ๑๒ มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็นได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ และตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๕๐ (๔) บัญญัติให้ เทศบาลตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่

ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ได้ตามแนวทางการควบคุมโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
15 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค 0 20,000.00 -
15 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2567 00:00 น.