กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กวัยเรียนสุขภาพดี สมวัย ห่างไกลโรค ตำบลควนสตอปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5284-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชปฎิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 กันยายน 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.ซอฟียา ไมมะหาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลควนโดน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       โภชนาการที่ดีเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพดี โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน เนื่องจากเด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ หากเด็กได้รับอาหาร ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดีและผอม หากขาดอาหารเป็นเวลานานเรื้อรัง จะทำให้เด็กเตี้ย ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง โดยระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า อีกทั้งเด็กที่มีภาวะเตี้ยมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้กินอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี มีส่วนสูงในระดับดีและรูปร่างสมส่วน รวมทั้งป้องกันปัญหาภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน ผอม เตี้ย) ได้
จากรายงานของระบบการจัดเก็บคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 สำรวจภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี ทั้งประเทศ พบว่า ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนในเด็กเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ร้อยละ 13.7 เกินค่าเป้าหมาย ที่กำหนดให้ไม่เกิน ร้อยละ 10 สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล โซเดียมสูง ซึ่งกลยุทธ์การตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ และบริโภคของเด็ก โดยเฉพาะวัยที่เริ่มมีกำลังซื้อและจ่ายด้วยตนเอง คือไม่เกินร้อยละ 10 และเด็กเตี้ย พบสูงกว่าค่าเป้าหมาย ร้อยละ 5 ในช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 5.7 8.9 และ 5.9 ตามลำดับ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องบูรณาการภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน สู่การขับเคลื่อนระบบการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่นระยะยาว และในส่วนของเด็กวัยเรียนในโรงเรียนของเขตรับผิดชองโรงพยาบาลควนโดนของปีงบประมาณ 2566 พบว่า เด็กที่ได้รับการคัดกรองภาวะโภชการ จำนวน 293 ราย มีภาวะสูงดีสมส่วนจำนวน 208 ราย(ร้อยละ 70.98) ภาวะผอม 41 ราย(13.99) ภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน 30 ราย(10.23) และภาวะเตี้ย 14 ราย (ร้อยละ 7.77) ตามลำดับ และจากผลการคัดกรองภาวะซีดในเด็กวัยเรียนของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลควนโดน เด็กวัยเรียนที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด จำนวน 150 คน แบ่งเพศชาย จำนวน 87 คน พบว่า มีภาวะซีดหรือความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 19 คน(ร้อยละ 21.83) อยู่ในภาวะปกติ จำนวน 68 คน และเพศหญิง จำนวน 63 คน พบว่า มีภาวะซีดหรือความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 12 คน(ร้อยละ 17.64)  อยู่ในภาวะปกติ จำนวน 51 คน ดังนั้น กลุ่มงานปฐมภูมและองค์รวม โรงพยาบาลควนโดน จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น ส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบถ้วน เหมาะสมตามวัย ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีทั้งร่างกายและสติปัญญา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีรูปร่างดี และสมส่วน ข้อที่ 2 เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลการเฝ้าระวัง และคัดกรองคัดกรองภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน ข้อที่ 3 เด็กวัยเรียนที่มีภาวะซีดหรือความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก และมีระดับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ของเด็กวัยเรียน มีรูปร่างดี และสมส่วน
ร้อยละ 100 ของข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน
มีการการส่งต่อ และส่งกลับ ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครูอนามัยโรงเรียน ร้อยละ 80 ของเด็กวัยเรียนได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก และมีระดับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดอบรม แก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
    1.1 กิจกรรมย่อย จัดประชุมระหว่างเครือข่ายสุขภาพ และทีมดำเนินงาน เพื่อพัฒนาหลักสูตรบูรณการงานสุขภาพเด็กวัยเรียน -ไม่เบิกงบประมาณ พฤศจิกายน 2566 1.2 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้ แก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครองของเด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ   60 คน x 60 บาท.  เป็นเงิน 3,600 บาท. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอบรม
      60 คน x 30 บาท x 2 มื้อ
                  เป็นเงิน 3,600 บาท.
    -ค่าวิทยากร 400 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 วัน               เป็นเงิน 2,000 บาท

- ค่าวัสดุในการอบรบเช่น แผ่นพับ,แฟ้ม,ปากกา          เป็นเงิน 1,800 บาท พฤษภาคม 2567- มิถุนายน 2567 2. จัดอบรมแก้ไขภาวะซีดในเด็กวัยเรียน
2.1 อบรมให้ความรู้ แก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครองของเด็กนักเรียนที่มีภาวะซีดหรือความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ   60 บาท.x 30 คน  เป็นเงิน 1,800 บาท. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอบรม
  30 บาท. x 30 บาท x 2 มื้อ
            เป็นเงิน 1,800 บาท.
-ค่าวิทยากร 400 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 วัน             เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าเอกสารในการอบรบ เช่น คู่มือติตตามภาวะซีด, แฟ้ม    เป็นเงิน 400 บาท พฤษภาคม 2567- มิถุนายน 2567 3. ติดตามภาวะโภชนาการและตรวจค่าความเข้มข้นของเลือดของเด็ก หลังจากจัดการอบรมไป 3 เดือน
-ไม่เบิกงบประมาณ สิงหาคม 2567 4. พัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - ตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือ เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง และโปรแกรมประเมินภาวะโภชนาการ ปีละ 1 ครั้ง - เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครูอนามัยโรงเรียน มีระบบการส่งต่อ และส่งกลับข้อมูล -ไม่เบิกงบประมาณ พฤษภาคม 2567- สิงหาคม 2567 5. ประเมินผลการดำเนินงาน 6. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการเสนอต่อผู้บริหาร/องค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ -ไม่เบิกงบประมาณ -ไม่เบิกงบประมาณ กันยายน 2567 รวม................17,000.................บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เด็กวัยเรียนมีส่วนสูงระดับดี และรูปร่างสมส่วนตามเกณฑ์
2. เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ 3. ระบบฐานข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2567 11:36 น.