กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5284-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานปฐมภูมิและองค์กรรวม โรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 กันยายน 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาซีกิน ถิ่นสตูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลควนโดน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขใต้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจสังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว ชุมซน และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาอารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป และเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า เป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกๆด้าน การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – 6 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็ก ภาวะทุพโภชนาการปฐมวัยในเขตตำบลควนสตอ ในปีงบประมาณ 2566 พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 200 ราย มีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 22.5 ซึ่งเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่าภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าวกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสุควนโดน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการ ในเด็กปฐมวัย ปี2567 ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไซปัญหาภาวะโภชนาการเด็กและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในการส่งเสริมการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย 3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม/เตี้ย) ได้รับการดูแลแก้ไข

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.เด็กแรกเกิด – 6 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90 2.เด็กแรกเกิด - 6 ปีมีโภชนาการตามเกณฑ์ สูงดีสมส่วน ร้อยละ 80 3.ผู้เข้าอบรมผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ/ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตรับผิดชอบ - ไม่เบิกงบประมาณ 2.แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรม/การอบรม / กำหนด สถานที่ วัน เดือน ปี - ไม่เบิกงบประมาณ 3.กิจกรรมอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย แก่เด็กและผู้ปกครองผู้เลี้ยงดูเด็ก
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับอบรม 60 คน x 60 บาท x 1 มื้อ        เป็นเงิน 3,600 บาท

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอบรม
60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ
            เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าวิทยากร 500 x 6 ชั่วโมง x 1 วัน             เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าวัสดุในการดำเนินการเช่นคู่มือ,ปากกา              เป็นเงิน 2,500 บาท 4.กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการและพัฒนาการล่าช้า
5.1.ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และพัฒนาการล่าช้า ทุก 1 เดือน
5.2 ส่งเสริมอาหารเสริมเด็กปฐมวัยที่มีภาวะผอมและเตี้ย 3 เดือน


5.3 สรุปข้อมูลติดตามเด็กปฐมวัยที่มีภาวะผอมและเตี้ยและพัฒนาการล่าช้า

  • ไม่เบิกงบประมาณ

  • ค่าอาหารเสริมไข่หรือนมกล่องคนละ 30 กล่อง x 10 บาท x 11 คน x 3 เดือน             เป็นเงิน 9,900 บาท

  • ไม่เบิกงบประมาณ

6 ติดตามประเมินผล - ไม่เบิกงบประมาณ รวม..................22,000...................บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2 .กลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีน้ำหนักหรือส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ 3. การคักรองพัฒนาการได้รับส่งต่อและรักษาอย่างทันท่วงที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2567 11:40 น.