กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการออกกำลังกายทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5284-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 กันยายน 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางใดฮานา สาอีซา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลควนโดน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     กลุ่มอาการปวดหลัง เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างของร่างกาย ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกปี นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาภาระโรคและการบาดเจ็บขององค์การอนามัยโลก พบว่า อาการปวดหลังเป็นปัญหาสุขภาพจากการทำงานที่มีสัดส่วนสูงที่สุด คือ ร้อยละ37 ของภาระโรคและการบาดเจ็บรวมทั้งหมด สำหรับประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยโรคปวดหลังจากการประกอบอาชีพ ร้อยละ 71.34 และจากการศึกษาภาระโรคปวดหลังในผู้ประกอบอาชีพ พบว่ามีผู้ป่วยโรคปวดหลังทุกชนิดพบว่ามี 52 ราย ต่อผู้ประกอบอาชีพ 1,000 ราย หากแบ่งตามตำแหน่งของพยาธิสภาพของกระดูกสันหลังสามารถพบอาการปวดหลังส่วนล่างได้มากที่สุด คือร้อยละ 33.29 ของผู้ป่วยโรคปวดหลังทุกชนิด และจากการศึกษาของ Qaseem และคณะ พบว่าประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างจะพัฒนาไปสู่ปัญหาปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง นั้นคืออาการปวดอยู่นานกว่า 3 เดือน6     อย่างไรก็ตามการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังนั้นสามารถช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดได้ด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน และบริหารร่างกายหรือการออกกำลังกาย รวมทั้งการมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความยืนหยุ่นและความทนทานของกล้ามเนื้อหลัง ส่งผลให้โครงสร้างของหลัง มีความมั่นคงและสามารถควบคุมอาการปวดได้ การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจึงเป็นเรื่องที่มีความท้าทายในการดูแลทางด้านสาธารณสุขสำหรับระบบการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง โดยเน้นการป้องกัน และการส่งเสริมให้ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ (วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา)
    แผนกกายภาพบำบัดโรงพยาบาลควนโดนตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงอยากเผยแพร่ความรู้และจัดการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยสอนวิธีการออกกำลังกายและบริหารทางกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ที่มีภาวะปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถช่วยลดภาวะความเจ็บป่วยและลดการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นและใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะปวดหลังได้ ข้อที่2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำวิธีการต่างๆมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ข้อที่3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และวิธีการต่างๆเพื่อป้องกันภาวะปวดหลังให้แก่ผู้อื่นได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะปวดหลังได้ 2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงสามารถออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะปวดหลังได้ ตัวชี้วัด 3.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะปวดหลังได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมโครงการ การออกกำลังกายทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรัง ประจำปี 2567 ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 400บ.x5 ชม. = 2,000บ. ค่าอาหารกล่อง 60บ.x 1 มื้อ x 50 คน = 3,000 บาทค่าอาหารว่าง 30 บ.x 2มื้อ x 50คน = 3,000บ. ค่าเอกสารคู่มือการออกกำลังกายในผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรัง 50 บ.x50 คน = 2,500บ. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในการออกกำลังกาย

- ผ้าขนหนูผืนใหญ่ 50 ชิ้น x 100 บาท = 5,000 บ. รวม 15,500 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.กลุ่มผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะปวดหลังได้ 2.กลุ่มผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรัง สามารถออกกำลังกายเพื่อป้องกันและลดภาวะปวดหลังได้ 3.กลุ่มผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรัง สามารถนำความรู้และท่าทางการออกกำลังกายไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.กลุ่มผู้ป่วยปวดหลังเรื้อรัง สามารถเผยแพร่ความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายแก่ผู้อื่นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2567 14:47 น.