กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5284-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนบ้านปลักซิมปอ(มัสยิดนูรุลฮีดายะห์)
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 กันยายน 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัศรียา เหมสลาหมาด นางสาวสุรายา หลีมานัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ในปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ได้รับผลกระทบกับในชุมชนบ้านปลักซิมปอโดยมีการแพร่ระบาดและทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีการระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบันส่งผลให้เด็กและเยาวชนหลงผิดเข้าสู่กลุ่มของการซื้อขายยาเสพติดมากยิ่งขึ้น จากการสำรวจพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดและผู้เสพยาเสพติดมากขึ้นจากเดิม ที่ผู้เสพ ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงของวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่ปัจจุบันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของผู้เสพที่อยู่ในนักเรียนระดับ ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จึงเห็นได้ว่าปัญหายาเสพติดได้มีการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้นและหนักขึ้น เป็นทวีคูณ มีจำนวนผู้เสี่ยงที่มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น กลุ่มผู้เสพยาเสพติดและกลุ่มผู้ค้า ยาเสพติดมักมีการลักลอบซื้อขายยาเสพติดกันในพื้นที่เป็นประจำ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ ซึ่งเป็นผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนและเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาชุมชน จึงจำเป็นต้องมีโครงการและมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ลดเบาบางจนหมดสิ้นไป       ดังนั้น ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนบ้านปลักซิมปอ (มัสยิดนูรุลฮีดายะห์) ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่างและเล็งเห็นผลกระทบและความเดือดร้อนของชุมชนและสังคม จึงได้ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติด ในชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และการอบรมให้ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนขึ้น เพื่อให้ความรู้และตระหนักถึงปัญหาพิษภัยของยาเสพติดและการเฝ้าระวังยาเสพติดเพิ่มขึ้นในชุมชน เพิ่มกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด และเพื่อให้ประชาชนได้มีสุขภาพดีถ้วนหน้าต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และตระหนักถึงปัญหาพิษภัยของยาเสพติดและเพิ่มกำลังคนเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน ข้อที่ 2 เพื่อเพิ่มกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ เพิ่มกำลังคนเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน กิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 กิจกรรม “ลด ละ เลิก”
รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 30 คน

-ป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับยาเสพติด (ขนาด 1.20 X 2.50 เมตร)            450 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ.x 30 คน  900 บ. -ค่าวัสดุ อุปกรณ์ (เช่นผ้าด้ายดิบ ปากกาเคมี สี กรดาษสี และอื่นๆ)                    2,000 บ.


3,350 – 2. กิจกรรม อบรม ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ในการเฝ้าระวังและการป้องกันในระดับเบื้องต้น จำนวน 60 คน -จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ (ขนาด 1.20 X 2.50 เมตร)                      450 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 60 บ.x 60 คนx 1 มื้อ
3,600 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ.x 60 คน x 2 มื้อ 3,600 บ. -ค่าวิทยากร 400 บ./ 2ชม.X 2คน      1,600 บ. -ค่าวัสดุ อุปกรณ์กิจกรรมฐานและกิจกรรมสันทนาการและอื่นๆตามที่วิทยากรกำหนด (ปากกาเคมี สี กรดาษสี กระดาษชาร์ต ลูกโป่ง ลูกบอล เชือกป่าน ปากกา กระเป๋า และอื่นๆ)                1,200 บ.


10,450 – 3. กิจกรรม ค่าย“สานสัมพันธ์ ฉันท์พี่น้อง” จำนวน 30 คน -ค่าอาหาร 60 บ.x30คนx2มื้อ          3,600 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ.x30คน x4มื้อ
3,600 บ. -ค่าวิทยากร 400 บ./1ชม.X2คน          800 บ. -ค่าใช้สถานที่                    3,500 บ.
- ค่าเช่าเหมารถ                  3,000 บ. -ค่าวัสดุ อุปกรณ์กิจกรรมฐานและกิจกรรมสันทนาการและอื่นๆตามที่วิทยากรกำหนด        1,700 บ.

16,200 – รวม 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) **ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดแก่เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ 2. เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของยาเสพติดสู่เด็กและเยาวชนในชุมชน
3. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2567 15:00 น.