กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควนยาหวาลดโรค ประชาชนสุขภาพดี ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5284-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านควนยาหวา
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 13,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัคริมา สาริปา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
  สถานการณ์อัตราตายต่อแสนประชากร ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดสตูล พบอุบัติการณ์การป่วยด้วยโรคโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันโดยมี อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อแสนประชากร ย้อนหลัง 3 ปี (2563-2565) อยู่ที่ 308.74 , 416.85 และ 413.75 อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร ย้อนหลัง 3 ปี (2563-2565) อยู่ที่ 972.24 , 1,070.66 และ 1,006.36 ตามลำดับ และจากข้อมูลการคัดกรองประชาชนในจังหวัดสตูล พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ได้รับการคัดกรอง แล้วพบความเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยในปีถัดมา ตั้งแต่ปี 2563 – 2566 มีข้อมูลเป็น ร้อยละ 1.39 , 1.74 , 1.92 และ 1.57 ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการคัดกรองแล้ว พบความเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยในปีถัดมา ในปี 2565 มีร้อยละ 5.39 และปี 2566 มีร้อยละ 5.18 ซึ่งจากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพประชาชนพบว่ากลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะถูกได้รับการวินิจฉัยให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น (รายงาน Health Data Center,2566)ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2564-2566 มีจำนวน 1,048 1,059 1,121 ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564-2566 มีจำนวน 2,9272,9443,062 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ป่วยจากทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ข้อมูลสถานการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ตำบลควนสตอ ปี 2564 – 2566 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 104 ราย ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ย้อนหลัง 3ปี (2564-2566) จำนวน 6,4 และ 6 ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 216 รายผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ย้อนหลัง 3ปี (2564-2566) ดังนี้ จำนวน 16,12 และ 9 รายตามลำดับนอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นเสี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ย้อนหลัง 3 ปี (2564-2566)จำนวน 283,111และ164 ราย ตามลำดับ โรคความดันโลหิตสูง ย้อนหลัง 3 ปี 2564 (2564-2566) จำนวน 585,398และ 612 ราย ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยง ทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ย้อนหลัง 3ปี (2564-2566) จำนวน 194,70 และ 146 รายตามลำดับ (รายงาน Health Data Center,2566) ผลการคืนข้อมูลจากการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ พบว่าจำนวนประชากรที่รับบริการตรวจคัดกรองจากข้อมูลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ปีงบประมาณ 2566 พบว่า หมู่ที่1-4 ตำบลควนสตอ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 783 คน คัดกรองได้ 635 คน คิดเป็นร้อยละ 81.10 พบกลุ่มปกติ 377 คน คิดเป็นร้อยละ 59.37 กลุ่มเสี่ยงความดัน 134 คน เป็นร้อยละ 21.10 กลุ่มสงสัยป่วย 113 คน คิดเป็นร้อยละ 17.80 กลุ่มป่วยส่งพบแพทย์ ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 22 คน ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 974 คน คัดกรองได้ 812 คน คิดเป็นร้อยละ 83.37 พบกลุ่มปกติ 611 คน คิดเป็นร้อยละ 75.25 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 178 คน เป็นร้อยละ 21.92 กลุ่มสงสัยป่วย 15 คน ส่งพบแพทย์ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 13 คน กลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 134 คน หมู่ที่ 3 บ้านควนยาหวา ได้คัดกรองประชาชน กลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป เป้าหมาย 156 คน คัดกรองได้ 154 คน คิดเป็นร้อยละ 98.71 เปอร์เซ็นต์ สรุปผลการคัดกรองพบกลุ่มปกติ 57 คน กลุ่มเสี่ยง 99 คน ในกลุ่มเสี่ยงกลายเป็นคนป่วย จำนวน 7คน อาสาสมัครหมู่ที่ 3 บ้านควนยาหวา เห็นความสำคัญ ปัญหาโรค Metabolic โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านควนยาหวา ตำบลควนสตอ ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่พบเป็นกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับการคัดกรองพบความเสี่ยงหลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด แต่ไม่ครอบคลุม เนื่องจากข้อจำกัด ในด้านงบประมาณ อาสาสมัครหมู่ที่ 3บ้านควนยาหวา ตระหนักและเห็นความสำคัญในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน ในกลุ่มเสี่ยงให้ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำโครงการควนยาหวาลดโรค ประชาชนสุขภาพดี ปี 2567 โดยเชิญวิทยากร ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส.และเชิญวิทยากร เกษตรอำเภอควนโดนมาให้ความรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชนบ้านควนยาหวาให้กลุ่มเสี่ยงปลูกรับประทานเองที่บ้าน จำนวน 60 คน กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ.2ส.และได้นำต้นกล้าพันธ์ผัก ไปปลูกรับประทานแบบปลอดสารพิษและแลกเปลี่ยนผักกันในชุมชน ตลอดจนมีการติดตามระดับความดันโลหิตและค่าน้ำตาล เป็นการดูแลสุขภาพประชาชน เพื่อลดกลุ่มป่วย ในชุมชน ลดภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการก่อนวัยอันควร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ข้อที่ 3 กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนกลายเป็นกลุ่มปกติ

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  ร้อยละ  80 กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 50

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านควนยาหวา พร้อมเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด - ค่าอาหารว่าง และน้ำดื่ม
จำนวน 10 คน X 1 มื้อx 30 บาท
เป็นเงิน 300 บาท
2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ,การปลูกผักปลอดสารพิษ - ค่าวิทยากรภายในหน่วยงาน 2 ชม ชม.ละ 300 บาท
เป็นเงิน 600 บาท - ค่าวิทยากรนอกหน่วยงาน 2 ชม ชม.ละ 600 บาท
เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าอาหารกลางวัน และน้ำดื่ม
จำนวน 60 คน X 1 มื้อx 60 บาท            เป็นเงิน 3,600  บาท - ค่าอาหารว่าง และน้ำดื่ม
จำนวน 60 คน X 2 มื้อx 30 บาท            เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน 9,000 บาท
3.ค่าวัสดุในการอบรม - เอกสารชุดความรู้การปรับเปลี่ยนจำนวน 60 ชุดๆละ 15 บาท เป็นเงิน 900 บาท
-ค่าวัสดุปลูก หน้าดินปลูกผัก เป็นเงิน 800 บาท ค่าวัสดุปลูก ขี้วัว ขุยมะพร้าว ถุงปลูก เป็นเงิน 1500 บาท ค่าเมล็ดพันธ์ผัก 5 ชนิด 1,200บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าป้ายโครงการ / ค่าป้ายประชาสัมพันธ์

ค่าป้ายโครงการ  1 ผืน
เป็นเงิน 450 บาท
5.นัดประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อตรวจสุขภาพครั้งที่ 2 เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ ไม่มีค่าใช้จ่าย
      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  13,350 บาท หมายเหตุ ทุกรายการสาสมารถถั่วเฉลี่ยกันได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้ที่เข้ารับการอบรมที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเหมาะสม 2.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลายเป็นกลุ่มปกติ
3.มีการปลูกผักบริโภคปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2567 15:24 น.