กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการ เด็กอายุ 0-5 ปี เทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ตำบลกายูบอเกาะ ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8305-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรามัน
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 12,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชาลิสา บือโต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือเด็กอายุ 0- 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) ของตำบลกายูบอเกาะ ในช่วงไตรมาสที่ 2 เด็กอายุ 0-5 ปีทั้งหมด 481 คน ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทั้งหมด 479 คน คิดเป็นร้อยละ 99.58 ส่วนสูงดีสมส่วนคิดเป็น ร้อยละ 43.22 ซึ่งไม่ได้ตามเกณฑ์ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2566 กำหนดไว้ เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 66 สาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญ ของเรื่องโภชนาการ ปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กและทานขนมกรุบกรอบ จากข้อมูลสถิติจะเห็นไห้ได้ว่า เด็กอายุ 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบยังมีปัญหาภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย เตี้ย น้ำหนักน้อย การดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องมีความรู้ และมีเครื่องมืออุปกรณ์ในการติดตามเฝ้าระวังโภชนาการเด็กเพียงพอและได้มาตรฐานตามที่กำหนด บางคนก็ไม่มีเครื่องชั่งน้ำหนักเป็นของตัวเอง เวลาจะใช้งานต้องหยิบยืมจากคนอื่นทำให้ล่าช้า ส่วนบางคนที่มีก็หลากหลาย ไม่เป็นไปตามมาฒฐานเดียวกัน จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมและแก้ปัญหาทุพโภชนาการ เด็กอายุ 0 – 5 ปี เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการ และความสำคัญของเกลือไอโอดีน ในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ )
  • ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และอสม.ที่ผ่านการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการ และความสำคัญของเกลือไอโอดีนในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 90
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 1. เขียนโครงการและเสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ
2. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนเตรียมงาน
3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการและความสำคัญของเกลือไอโอดีน ในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ) แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และอสม. จำนวน 50 คน ในระหว่างเดือนมีนาคม -กันยายน. 2567 เวลา 08.30 -16.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองรามันห์ 5. สาธิตการทำอาหารเสริมเมนูง่ายๆ สำหรับเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ (เมนูเพิ่มน้ำหนัก) และการใช้การเกลือไอโอดีนในการประกอบอาหาร 6. สาธิตการชั่งน้ำหนัก -วัดส่วนสูงที่ถูกวิธีและการแปรผล 7. ประเมินความรู้ความเข้าใจ Pre test – Post test ผู้เข้าร่วมอบรม 8. ติดตามผลการดำเนินงาน 9. สรุปรายงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ/รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 1. เขียนโครงการและเสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ
2. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนเตรียมงาน
3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ติดตามชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 30 คน โดยการจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 3 เครื่อง ได้แก่ หมู่ 1,2 และหมู่ 6 โดยให้ อสม.ที่รับผิดชอบเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ แต่ละชุมชนไปติดตามชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ทุก 3 เดือน (สามารถใช้งานได้ตลอด ) 5. ติดตามผลการดำเนินงาน 6. สรุปรายงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ/รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 10:07 น.