โครงการ การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เทศบาลตำบลเมืองรามันห์
ชื่อโครงการ | โครงการ การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เทศบาลตำบลเมืองรามันห์ |
รหัสโครงการ | 67-L8305-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม |
วันที่อนุมัติ | 30 เมษายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2567 - |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 13,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสูบายด๊ะ ดูสิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคขาดสารไอโอดีนมีผลต่อความพิการทางสติปัญญา ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กไทยที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต โรคขาดสารไอโอดีนมีผลกระทบต่อประชากรทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 3 ปี หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้สมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ลดความเฉลียวฉลาด หรือระดับสติปัญญาของเด็กได้ถึง 10-15 จุด ทำให้เด็กมีปัญหาการเรียน และกระทบต่อการเจริญเติบโต และยังส่งผลถึงความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก คุณภาพชีวิตของคนหนุ่มสาว อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะทำให้ประชาชนได้รับสารไอโอดีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในทุกเพศ ทุกวัย รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดให้นมบุตร 6 เดือน มีการรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาหารใช้เกลือเสริมไอโอดีน ทั้งในครัวเรือน ร้านอาหาร โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น มีการสุ่มตรวจคุณภาพเกลือที่แหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย ครัวเรือน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ต้องให้ได้มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุขต้องได้รับยาเม็ด เสริมไอโอดีน และมีเป้าหมายให้ทุกชุมชน หมู่บ้านดำเนินการชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ปัจจุบันสถานการณ์ของภาวะขาดสารไอโอดีนแม้ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ยังต้องดำเนินการอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการบูรณาการจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โดยมีตัวชี้วัด คือ คุณภาพเกลือจากแหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย และความครอบคลุมของการใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพในระดับครัวเรือน รวมทั้งปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้มาตรการหลัก คือ มาตรการเกลือเสริมไอโอดีน นอกจากนี้ยังมีน้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนจากถั่วเหลืองต้องมีไอโอดีนและมีมาตรการเสริม ได้แก่ ยาเม็ดเสริมไอโอดีน เหล็กและกรดโฟลิก แก่หญิงตั้งครรภ์ทุกรายตลอดการตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด 6 เดือนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเสริมไอโอดีนในน้ำดื่ม ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป จึงจำเป็นต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม ทั่วถึง และให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนต่อไป จากสถานการณ์ดังกล่าว เทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เทศบาลตำบลเมืองรามันห์"เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- จัดทำโครงการ ประชุมผู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ
- เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์อนุมัติ
3. ดำเนินการตามแผนงานโครงการ
3.1. กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่แกนนำ /ผู้นำ อสม ตัวแทนโรงเรียน ตัวแทนร้านค้าในเขตเทศบาลตำบลกายูบอเกาะ
3..2 กิจกรรม ที่ 2 รณรงคไอโอดีนร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างกระแสการมีส่วนร่วม
3..3 สุ่มตรวจเกลือไอโอดีนในครัว แรือน ร้อยละ 80
3.. 4 ตรวจร้านค้าในชุมชนเน้นการใช้เกลือไอโอดีนภายคำขวัญ ผู้ประกอบการใส่ใจ ใช้เกลือเสริมไอโอดีน” ภายใต้คำขวัญ “ทุกมื้อ ทุกวัน ทุกวัย ใช้เกลือเสริมไอโอดีน” 4. ให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบประเมิน ก่อนแลหลังการอบรม 5. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล 6. ประเมินผลโครงการ
- เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์อนุมัติ
– ความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80 - เกิดหมู่บ้านไอโอดีน - ผลการตรวจไอโอดีนในครัวเรือนมากกว่า 20ppm ร้อยละ 90
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 10:25 น.