กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนเทศบาลเมืองรามันห์ ยุคใหม่ รู้ทัน ใส่ใจ โรคมะเร็งตำบลกายูบอเกาะ ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8305-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกายูบอเกาะ
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 18,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารีแย เปาะวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 2 และ 3 ตามลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ ของโรคมะเร็งทั้งหมด สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมา พบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้าน สังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในระยะเริ่มแรก ร้อยละ 30 – 40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีและอาจลดการตรวจลงเหลือเพียง ตรวจทุก 2 – 3 ปี เมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง 3 ครั้ง/3 ปีติดต่อกัน ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจาก โรคมะเร็งลดลง และการเข้าถึงการตรวจตามหลักนโยบาย Cancer Anywhere ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสะดวกและเข้าถึงการรักษา ได้มากขึ้น     จากผลการดำเนินงาน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30- 60 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ปี 2564 - 2566 พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายเท่ากับ 1,352,1,343 และ 1,293 ราย ตามลำดับ ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 7.62, 22.34 และ 23.20 ตามลำดับ กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้า รับบริการการ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ปี 2566 กลุ่มเป้าหมาย 30-70 ปี มีจำนวน 1,581 ราย ได้รับการคัดกรอง 1,533 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.96 ( ข้อมูล HDC วันที่ 30 กันยายน 2566 ) และตรวจไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองมีความซับซ้อน ทำให้ไม่เข้าใจ หรืออาจเกิดจาก กลุ่มเป้าหมาย และ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ส่วนการคัดกรองมะเร็งลำไส้ ปี 2566 กลุ่มเป้าหมายคิดเป็นสุ่มตรวจร้อยละ 20 จำนวน 128 ราย ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ 113 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.84 พบผิดปกติจำนวน 11 ราย เป้าหมายที่ผลผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการส่องกล้อง (Colonoscopy) รพ.รามัน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก รพ.ยะลา ส่วนการคักรองมะเร็งตับอักเสบ บี และ ซี เป็นนโยบายมะเร็งครบวงจร ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จะเห็นได้ว่า การคัดกรองมะเร็งแต่ละประเภท ประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสุขภาพมักจะพบผิดปกติได้ ในระยะเริ่มต้น และจะได้รับการดูแลแนะนำการรักษา และส่งต่อ ในการรักษาได้ทันที แต่เป้าหมายจำนวนมากที่ยังไม่ให้ความร่วมมือในการคัดกรองเรื่องมะเร็ง ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ ไม่ตระหนัก ขาดความรู้ที่ถูกต้อง เมื่อพบผลผิดปกติ ปฏิเสธการรักษา และอาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองมีความซับซ้อน ทำให้ไม่เข้าใจ หรืออาจเกิดจากกลุ่มเป้าหมาย และ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้
      ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกายูบอเกาะ จึงได้จัดทำโครงการประชาชนเทศบาลเมืองรามันห์ ยุคใหม่ รู้ทัน ใส่ใจ โรคมะเร็ง ตำบลกายูบอเกาะ ปี 2567 ขึ้น กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับ ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ในการเก็บตัวอย่าง และยังเป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งแบบยั่งยืนต่อไปยิ่งด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

จัดกิจกรรมให้ความรู้
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าที่สาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน 3. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย 4. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน 5. – อบรมให้ความรู้กระบวนการทำงานมะเร็งครบวงจร Cancer Warrior จำนวน 130 ราย                      ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา.....10.00.-12.00... น. โดย วิทยากรจากโรงพยาบาลรามัน         - บรรยายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองตนเอง คัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยวิธี Fit test/การส่องกล้อง
        Colonoscopy และคัดกรองมะเร็งตับ ในกลุ่มเป้าหมาย           ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา....13.00-15.00.... น. โดย วิทยากรจากโรงพยาบาลรามัน 6. ประเมินความรู้หลังอบรม 7. สรุปผลติดตามตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้มีประสิทธิภาพ และถูกต้อง ในการเก็บตัวอย่าง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 10:44 น.