กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี
รหัสโครงการ 67-L8305-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารีแย เปาะวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาที่ให้การเตรียมความพร้อมแก่เด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียนเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 2 ถึง 5 ปี เป็นวัยที่ถือว่า “วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ” ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวัยทารก ก้าวสู่ความพร้อมในการที่จะเรียนรู้ สังคมที่กว้างออกไปจากครอบครัว เราจึงควรเข้าใจในพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการให้ถูกวิธี มีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน อันจะช่วยให้เด็ก เกิดการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม เด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 5 ปี เป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของชีวิตที่สมองมีการเจริญเติบโตมากกว่าทุกๆ ช่วงอายุ
จากผลการดำเนินงานการดูแลเด็กอายุ 0 - 5 ปีในเขตเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ในปี 2566 มีเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 420 คน มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 95.71 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 5.95 ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังพบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าค่อนข้างมาก เด็กในวัยนี้ควรได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนั้นทางกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการ ประชุมผู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ
    1. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์อนุมัติ       3. ดำเนินการตามแผนงานโครงการ         3.1 จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าที่สาธารณสุขและอสม.ผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน   3.2 สำรวจกลุ่มเป้าหมายโดยการดึงข้อมูลจาHDC และกลุ่มเป้าหมายการคัดกรองพัฒนาการในแต่ละเดือน         3.3 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กและอาสาสมัครสาธารณสุข เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริม ฟื้นฟูและกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 0-5ปี จำนวน 85 รายโดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลรามันสถานที่ ห้องประชุมโรงพยาบาลรามัน
              3.4 ฝึกทักษะการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
                  3.5 ตรวจคัดกรองประเมินพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี             3.8 ติดตามกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า             3.9 กรณีเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าแล้วกระตุ้นไม่ดีขึ้น ส่งต่อโรงพยาบาล รักษาตามแนวทางที่กำหนด
    2. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
    3. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีมีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริม เฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการ ร้อยละ 70       3. เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 10:50 น.