กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน
รหัสโครงการ 67-L830-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารีแย เปาะวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตมีการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และ  การอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อาหารเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้วัยเด็กได้รับการพัฒนาที่ดีมีสุขภาพ ที่สมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งการออกกำลังกาย เพื่อให้นักเรียนซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตได้มีความรู้ความเข้าใจเห็นคุณค่าในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสม กับวัย นำไปปฏิบัติได้เอง  ในชีวิตประจำวันและเป็นแบบอย่างให้กับคนในครอบครัวและชุมชน ในโอกาสต่อไปได้
    จากผลการปฏิบัติงานภาวะโภชนาการ กลุ่มเป้าหมายเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา พบว่าปี 2564 และ 2565 สูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 69.86 และ 65.84 สำหรับผลการดำเนินงาน ในปี 2566 ซึ่งตรงกับภาคเรียนที่ 1/2566 ไตรมาสที่ 3 (พ.ค.-ก.ย. 66) จะเห็นได้ว่าการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในกลุ่มวัยเรียนอายุ ๖-๑๔ ปี จำนวน 1,423 ราย ยังพบมีเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวน 557 ราย สูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 66.34 โดยแบ่งเป็น ผอม และ ค่อนข้างผอม คิดเป็นร้อยละ 12.16 เตี้ย และ ค่อนข้างเตี้ย คิดเป็นร้อยละ 19.89 และอ้วน และ เริ่มอ้วน คิดเป็นร้อยละ 7.10 ทำให้ผลดำเนินงาน    ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางสติปัญญา ร่างกาย และอารมณ์ของเด็ก  ทำให้เด็กขาดศักยภาพที่จะเรียนรู้ตามวัย ซึ่งจะต้องช่วยกันสร้างบริโภคนิสัยที่ดีให้กับเด็ก จะเห็นได้ว่าปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการทบทวนสาเหตุเกิดจากการเจริญเติบโตของเด็กที่มารดา ขาดการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ ส่งผลให้เด็กมีภาวะทุพโภชนาการตั้งแต่เด็ก มีภาวะทางพันธุกรรมด้านน้ำหนัก และส่วนสูงส่งผลต่อความฉลาด เด็กพฤติกรรมการบริโภคอาหารทีไม่ถูกต้องเช่นอาหารจานด่วน (fast food) อาหารขยะ (junk food) ขนมกรุบกรอบที่ไม่มีประโยชน์อีกทั้งโรงเรียนมีจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนไม่เหมาะสม หรือเอื้อต่อการให้นักเรียนได้เลือกรับ “สื่อ”ที่ผิดทั้งในโรงเรียน/นอกรั้วโรงเรียนมีการจำหน่ายอาหาร/ขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน น้ำอัดลม ไอศกรีม ส่งผลให้เด็กนักเรียนเป็นจำนวนมากเข้าใจว่า อาหารหรือขนมที่จำหน่ายภายในโรงเรียนนั้น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือ สามารถบริโภคได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและดูแลแก้ไขเด็กกลุ่มนี้ให้มีส่วนสูงระดับดี รูปร่างสมส่วน ดังนั้นกลุ่มชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนและแกนนำนักเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเขตเทศบาลเมืองรามันห์ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เพื่อให้ได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก อันนำไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ดังนั้นกลุ่มชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วนในโรงเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.1ประชุมชี้แจงโครงการและการดำเนินงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.2 ประชาสัมพันธ์โครงการในโรงเรียน
1.3 จัดประเภทกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอมและค่อนข้างผอม/เตี้ยและค่อนข้าผอม/ อ้วนและค่อนข้างอ้วน) เด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านรามันในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองรามันห์ ตำบลกายูบอเกาะ
1.4 ประเมินภาวะโภชนาการ 1.6 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แก่กลุ่มที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 1.7 อบรมให้ความรู้เรื่อง 3 อ.(อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์) 1.8 ติดตามชั่ง นน./วัด สส. เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ทุก 3 เดือน       1.9 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เด็กวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถลดปัจจัยเสี่ยง ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพดูแลสุขภาพในกลุ่มวัยเรียน
            - ส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลตนเองด้านภาวะโภชนาการ         - นักเรียนในโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ         - นักเรียนมีรูปร่างสูงดี สมส่วน ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของนักเรียนดีขึ้น ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะซีด และปัญหาเรื่องสุขภาพนั้น ที่มีการพัฒนาและแก้ไขไปพร้อมกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 11:08 น.