กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "เฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ ปี 61"
รหัสโครงการ 61-L2543-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มีนาคม 2561
งบประมาณ 7,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฐยา เมฆรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.161,101.931place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 มี.ค. 2561 30 มี.ค. 2561 7,620.00
รวมงบประมาณ 7,620.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคประจำตัวและภาวะเสี่ยงต่างๆเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไทรอยค์และภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะซีด การคลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจากการรวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในเขตตำบลสุไหงปาดี ปี ๒๕๕๗- ๒๕๕๙ พบว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๓.๙๕(๓),๕.๑๓(๔)ชักจากภาวะครรภ์เป็นพิษรักษาตัวในห้องICU(อายุครรภ์ ๒๘ สัปดาห์) ๑ รายและ๗.๖๙ (๕)ชักจากภาวะครรภ์เป็นพิษรักษาตัวในห้องIC(อายุครรภ์ ๑๖ สัปดาห์)๑ รายอัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคเบาหวานร้อยละ ๑.๓๒(๑),๑.๒๘(๑)และ๔.๖๒(๓) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยหัวใจร้อยละปี๒๕๕๙ ๑.๕๔ (๑) อัตราภาวะโลหิตจางระยะใกล้คลอดในร้อยละ ๗.๘๙(๖),๖.๔๑(๕)และ ๙.๒๓(๖) ปี ๒๕๖๐และปี๒๕๖๑(ตค๖๐) พบว่ามีมารดาตายในเขตอำเภอสุไหงปาดี จำนวน ๒ ราย ด้วยโรคหัวใจและภาวะตกเลือดหลังคลอด จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สุไหงปาดีจึงได้จัดทำโครงการ”เฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ ปี ๒๕๖๑ ขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่คาดว่าจะมีบุตรอีกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงโดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามีที่มีโรคประจำตัวด้วยโรคต่างๆได้มีความรู้ในการดูแลตนเองและเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงที่ถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงที่ถูกต้อง ร้อยละ 85

2 2.เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะสี่ยงสูงได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

3 3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้ถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้ถูกต้อง ร้อยละ 85

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
22 ธ.ค. 60 - 31 มี.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง 60 7,620.00 7,620.00
รวม 60 7,620.00 1 7,620.00

๑.ขั้นเตรียมการ ๑.๑จัดทำแนวทางการในการดำเนินงาน”โครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ปี ๒๕๖๑” ๑.๒เสนอโครงการและแผนงานเพื่อของบประมาณในการดำเนินงาน ๒. ขั้นดำเนินการ ๒.๑จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กและแม่สา อสม. เพื่อ รับทราบโครงการ ๒.๒ประชาสัมพันธ์โครงการโดยผ่านคลินิกฝากครรภ์ แม่อาสา อสม.แกนนำสตรีและเครือข่าย ๒.๓จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์เร็วการฝากครรภ์คุณภาพ ในสถานบริการ ๒.๔จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ทุกราย/คู่สมรสใหม่/หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่คาดว่าจะมีบุตรคนต่อไปวัยรุ่นในชุมชนในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้ ๒.๔.๑ โรคความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ ๒.๔.๒ โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ ๒.๔.๓ โรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์ ๒.๔.๔ โรคไทรอยค์ในหญิงตั้งครรภ์ ๒.๔.๕ การตกเลือดหลังคลอด ๒.๔.๖ โรคโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ๒.๔.๘ วิธีคุมกำเนิดชนิดต่างๆที่เหมาะสมกับโรคประจำตัวในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ๒.๔.๙ ภาวะเสี่ยงอื่นๆ

๒.๕บริการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพโดยพยาบาลวิชาชีพชำนาญการในสถานบริการและเชิงรุก ในชุมชนดังต่อไปนี้ ๒.๕.๑ ให้บริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ๒.๕.๒ ให้บริการเจาะเลือดคัดกรองโรคต่างๆในหญิงตั้งครรภ์ ๒ ครั้ง ได้แก่ โรคโลหิตจาง โรคเอดส์ โรคไวรัสตับบี โรคซิฟิลิสโรคธาลัสซีเมีย โรคเบาหวาน(ในรายที่บิดามารดาป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และกรุ๊ปเลือด ๒.๕.๓ ให้บริการส่งต่อพบแพทย์เพื่ออัลตราซาวด์ ๒ ครั้ง (U/S) ครั้งที่ ๑ เมื่ออายุครรภ์ ๑๖ – ๒๐ สัปดาห์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ที่แน่นอน ครั้งที่ ๒ เมื่ออายุครรภ์๓๖ สัปดาห์ในระยะใกล้คลอด ๒ สัปดาห์
เพื่อยืนยันท่าเด็ก/ส่วนนำ สำหรับใช้วางแผนในการคลอดบุตรต่อไป ๒.๕.๔ ให้บริการฝากครรภ์อย่างน้อย ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน ๒.๕.๕ ให้บริการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงและมารดาและทารกหลังคลอด ๓ ครั้ง ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๒.๕.๖ ให้บริการการเว้นช่วงการมีบุตรหลังครบ ๔๕ วันหลังคลอด ๒.๗ส่งต่อผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ๒.๙ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงและมารดาหลังคลอดทุกรายอย่างต่อเนื่อง

๓. ขั้นติดตามประเมินผล ๓.๑ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานในคลินิกฝากครรภ์และในชุมชนเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน ทุก ๓ เดือน ๓.๒ ติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดทุก ๑ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.หญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสใหม่ และหญิงวันเจริญพันธุ์ที่คาดว่าจะมีบุตรคนต่อไปมีความรู้ ทักษะ และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง สามารถนำความไปเผยแพร่ในชุมชนได้ ๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆในขณะตั้งครรภ์อย่างครอบคลุมเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่างๆ ในระยะเริ่มแรกและได้รับการแก้ไข/ส่งต่ออย่างทันท่วงที ๓.หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างน้อย ๒ ครั้งในครรภ์ปกติและสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงจะได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางตลอดการตั้งครรภ์ ๔. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้การเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ตลอดจนแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2560 21:30 น.