กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนคูหาใต้ฟันดี เหงือกแข็งแรง
รหัสโครงการ 67-L8402-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 53,315.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนคร กาเหย็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 91 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 143 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 83 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 918 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 91 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปีงบประมาณ 2566 ของจังหวัดสงขลา พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ในอำเภอรัตภูมิ มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 26.32 ในขณะที่เด็กกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันผุคิดเป็นร้อยละ 18.75  ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาโรคฟันผุในทั้ง 2 กลุ่มอายุ ยังเป็นปัญหาที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคฟันผุทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรียจากฟันผุทำให้ความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลลดลง ทำให้เป็นโรคเบาหวานได้,เชื้อแบคทีเรียกระจายไปตามหลอดเลือดเป็นผลให้เลือดไหลเวียนเข้าหัวใจได้น้อยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ,เชื้อแบคทีเรียเข้าไปปนกับน้ำลายและไหลเข้าสู่ปอดเกิดอาการปวดติดเชื้อ,การระคายเคืองของเนื้อเยื่อบุช่องปากที่เกิดซ้ำส่งผลให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ โรคฟันผุอันตรายกว่าที่คิดการรักษาความสะอาดช่องปากจึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อมีอาการแล้วควรรีบรักษาเพื่อสุขภาพที่ดี จึงต้องอาศัยการช่วยเหลือดูแลสุขภาพช่องปากจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆ กลุ่มอายุ ซึ่งในแต่ละกลุ่มอายุ ก็ยังมีพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก พ่อ แม่ ครูผู้ปกครอง และผู้สูงอายุที่ดูแลบุตรหลาน โดยจะต้องมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีทางทันตสุขภาพ ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูประจำชั้น ในระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยโรคสำคัญได้แก่โรคเบาหวานและกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคในช่องปากและจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมอีกด้วย   งานทันตสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอรัตภูมิ  จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุต่างๆ ของเครือข่ายอำเภอรัตภูมิขึ้น เพี่อลดการเกิดโรคฟันผุ ส่งเสริมทันตสุขภาพ ในกลุ่มอายุต่างๆ และช่วยให้ผู้ปกครอง ,ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ,ครูในโรงเรียนประถมศึกษา ,ผู้ป่วยเบาหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุข ,ผู้สูงอายุ ฯลฯ ได้มีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ทั้งของตนเองและครอบครัว อันจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายสำคัญคือกลุ่มเด็กเล็กได้รับการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม นำไปสู่การแก้ปัญหาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม

ประชาชนในกลุ่มวัยต่างๆ ในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม

80.00
2 เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์วานิช

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ได้รับการ ฝึกทักษะการแปรงฟันและควบคุม แผ่นคราบจุลินทรีย์

70.00
3 เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มอายุต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบได้รับ การตรวจสุขภาพช่องปากและการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

80.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกสาธิตการทำความสะอาดช่องปากแก่ผู้ดูแล

ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกสาธิตการแปรงฟัน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ       ๑.๑ เก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาการทันตสุขภาพในพื้นที่ รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม
      ๑.๒ เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติของบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ       ๑.๓ เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในงานอบรม   ๒. ขั้นดำเนินการ       ๒.๑ ส่งหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม รวมทั้ง อสม. รพ.สต. สท.ต. และแกนนำชุมชนเพื่อชี้แจงปัญหาสุขภาพทางทันตกรรมในพื้นที่       ๒.๒ ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ ในปัจจุบัน แก่เครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม โดย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ทั้งหาแนวทางดำเนินการในชุมชน       ๒.3 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบความรู้ แผ่นพับในสถานบริการ ป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) ในชุมชน และเสียงตามสายผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน ให้ได้รับความรู้การกับการดูแลสุขภาพช่องปากตามกลุ่มวัย       2.4 อบรมให้ความรู้ หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และมีการสาธิตการฝึกทักษะการแปรงฟัน   2.5 หญิงมีครรภ์ในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จากเจ้าหน้าที่และได้รับการส่งต่อนัดหมายทาง  ทันตกรรมตามความเหมาะสม       2.6 ประสานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/อนุบาล/ Nursery ในเขตรับผิดชอบ เพื่อติดต่อเข้าทำกิจกรรมทาวทันตกรรมสำหรับเด็กในศูนย์ 2.7 อบรมให้ความรู้ ครูและผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ทุกรายและสาธิตการแปรงฟันที่ถูกต้องและเด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์ทุกคน 2.8 ประสานงานกับทางโรงเรียนในเขตรับผิดชอบและครูอนามัยวางแผนดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนและเพื่อขออนุญาตผู้ปกครอง 2.9 ปฏิบัติงานตามแผน โดยให้บริการตรวจฟัน ในนักเรียน ชั้น ป.1-ป.6, เคลือบหลุมร่องฟัน ในนักเรียนชั้น ป.1 และนักเรียนอายุ 6 ปี และ บริการทันตกรรม ด้านการอุดฟัน การขูดหินปูน และการถอนฟัน นักเรียน 6-12 ปี 2.10 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขศึกษา สอนแปรงฟันและฝึกปฏิบัติ ในคาบวิชาเรียนสุขศึกษา ติดตามการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียนและกระตุ้นการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนัดหมายให้เด็กนักเรียนมารับการรักษาที่รพ.สต.หรือโรงพยาบาลตามความเหมาะสม 2.11 อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในพื้นที่ อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง 2.12 จัดตั้งกองทุนแปรงสีฟัน เพื่อส่งเสริมการแปรงฟัน 2.13 ติดตามและประเมินสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ระบบการบริการสุขภาพช่องปาก ทั้งด้านสร้างเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ได้รับการพัฒนาและร่วมบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม
  2. ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
  3. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและพื้นที่ในการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปาก
  4. ปัญหาสุขภาพช่องปากในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2567 09:29 น.