กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8402-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 มีนาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนคร กาเหย็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 78 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 280 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 51 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก และในปี พ.ศ. 2566 ได้รับข้อมูลจาก IDF Diabetes Atlas ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 537 ล้านคน มากกว่า 90% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คาดว่าภายในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มมากถึง 783 ล้านคน ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานเกิดจากการมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน รอบเอวเกิน เป็นโรคความดันโลหิตสูง ชอบรับประทานอาหารรสหวาน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสมจำนวน 3.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 มากถึง 1.5 แสนคน สำหรับการคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2566 พบว่า การคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ยังไม่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานมากถึง 5 ล้านคนจากเป้าหมายทั่วประเทศ 22 ล้านคน
        นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้น จากระบบข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ Health Data Center (HDC) ปีงบประมาณ 2564-2566 ประเทศไทยพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 7,010, 7,336 และ 7,692 ต่อประชากรแสนคน สำหรับเขตพื้นที่สุขภาพที่ 12 มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน พบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 4,980, 5,148 และ 5,396 โดยในปีงบประมาณ 2566 ( ณ 30 ก.ย. 66) อัตราป่วยสูงสุดในจังหวัดพัทลุง 7,555 รองลงมา คือ ตรัง 6,820 สงขลา 6,219 สตูล 5,035 นราธิวาส 4,251 ยะลา 3,909 และปัตตานี 3,745 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม มีประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๑,933 คน มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 277 ราย เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖5 จำนวน 8 ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 545 ราย เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖5 จำนวน 2 ราย (ฐานข้อมูล HDC รพ.สต.ทุ่งมะขาม, ๒๕๖6) จึงได้เห็นปัญหา ภาวะสุขภาพของประชาชนที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจในครอบครัว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงกับประชาชนพื้นที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

50.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

กลุ่มเสี่ยงมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

70.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูง

อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

80.00
4 ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อน ทางตา ไต และเท้า

ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต และเท้า

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน 2. ประชุมคณะกรรมการ ชี้แจงแผนงานโครงการและสถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงใน ปัจจุบัน แก่เครือข่ายสุขภาพ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน 3. อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ อสม. เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองและการใช้เครื่องมือสำหรับตรวจคัดกรองใน กลุ่มเป้าหมาย 4. รณรงค์ เผยแพร่ความรู้ และประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมายทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบความรู้ แผ่นพับในสถานบริการ ป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) ในชุมชน 5. ดำเนินการกิจกรรม “เสริมพลังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” 6. ติดตาม ตรวจคัดกรองซ้ำหลังดำเนินกิจกรรม “เสริมพลังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” ทุก 1, 3
และ 6 เดือน 7. ตรวจคัดกรอง เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทางตา ไต และเท้า กรณีพบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หรือเท้า ส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์ต่อไป 8. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้รับความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ๒.อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง ๓.ลดอัตราการป่วยและความพิการจากโรคเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2567 10:04 น.