กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8402-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,482.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนคร กาเหย็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อยแต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเป็น ประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว บกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมี ความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง ปัจจุบัน เรื่องของปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเป็นได้จากสถิติจำนวนของผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมากจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีสารปนสารเคมีหรือผักที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักจะมีการใช้สารกำจัดสัตรูพืชและยังตกค้างในผลผลิต ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืน คือ การส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเอง เป็นต้น
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปมีความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเอง จากการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเกษตรกรและประชาชน โดยการเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน 50 คน ผลเลือดปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 ปลอดภัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24.00 มีความเสี่ยง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48.00 และไม่ปลอดภัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24.00 จากกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด มีความเสี่ยงจำนวน 24 คน และไม่ปลอดภัย จำนวน 12 คน ผลจากการศึกษา เข้ารับการขับสารพิษโดยรางจืด ติดต่อกันเป็นเวลาไม่เกิน 5 วัน เพื่อทำการเจาะเลือดซ้ำในครั้งที่ 2 ผลปรากฏว่า การขับสารพิษด้วยรางจืด สามารถลดระดับที่เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ปลอดภัย ร้อยละ 59.65 ส่วนหลังดำเนินการปลอดภัยร้อยละ 68.42 เพิ่มขึ้น (วารสารวิชาการสํานักงานปองกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี,2566) ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มประชาชนทั่วไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 256๗ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาระดับ โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ๒.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้รับการเฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่อง
90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มประชาชนในพื้นที่ รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม 1.2 เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติของบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ 1.3 เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในงานอบรม
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ส่งหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.บ้านทุ่งมะขาม รวมทั้ง อสม. รพ.สต. และแกนนำชุมชน เพื่อชี้แจงปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มประชาชนในพื้นที่ 2.2 จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
    2.3 จัดอบรมให้ความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีแก่กลุ่มประชาชน
    2.4 การให้บริการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดในกลุ่มประชาชน 2.5 จัดระบบติดตามกลุ่มที่ไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง โดยการตรวจคัดกรองซ้ำ
  3. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือด     ๒. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2567 10:59 น.