กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน12 กันยายน 2567
12
กันยายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลปาเสมัส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

๑.ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงการ ๑.๒ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๑.3 จัดเตรียมหลักสูตรในการจัดอบรม ๑.4 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ข้อมูล และเอกสารในการดำเนินกิจกรรม 1.5 ดำเนินการจัดอบรมตามโครงการ 1.6 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ๒.ขั้นดำเนินการ ๒.๑ กิจกรรมที่ ๑ การส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากของกลุ่มผู้สูงอายุ
๒.๑.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาวะช่องปากของผู้สูงอายุ รอยโรคในช่องปากปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบในผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
๒.๑.๒ สาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันจริงในผู้สูงอายุ
๒.๑.3 ตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิชให้แก่ผู้สูงอายุในรายที่มีฟันถาวร เพื่อป้องกันรากฟันผุ

๒.3 กิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กอายุ 0-3 ปี (คลินิกสุขภาพเด็กดี)
๒.3.๑ ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ ๐-๓ ปีที่มารับบริการในคลินิกเด็กดี ๒.3.๒ ฝึกทักษะผู้ปกครองในการแปรงฟันแบบถูไปถูมา (Horizontal scrub technique) ใน     คลินิกสุขภาพเด็กดีและในชุมชน 2.3.3 ทาฟลูออไรด์วานิชในคลินิกสุขภาพเด็กดีและในชุมชน

กิจกรรมที่ ๑ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน - ค่าสัมมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมงๆละ 6๐๐ บาท เป็นเงิน  1,800 บาท - ค่าสัมมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 5 คน x 3 ชั่วโมงๆละ ๔๐๐ บาท เป็นเงิน  6,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้อง
จำนวน 60 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 35 บาท          เป็นเงิน  4,200 บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้อง
จำนวน 60 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท                        เป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
ขนาด ๑ x ๒ เมตร จำนวน ๑ ผืนๆ ละ 500 บาท        เป็นเงิน  ๕๐๐ บาท - แปรงสีฟันสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 5๐ ด้ามๆละ 30 บาท                เป็นเงิน  1,500 บาท - ยาสีฟันสำหรับสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 50 กล่องๆละ 30 บาท เป็นเงิน  1,500 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น ๒. ผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟัน และเข้าถึงการรับบริการทันตกรรม ๓. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก ๐-๓ ปีลดลง ๔. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน