กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง-ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L5225-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 29,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโสภณ ขวัญชื่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน    จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย    การสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน  จากการประเมินงานพัฒนาการเด็ก ๐ – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง ปีงบประมาณ 2566    พบอัตราการเข้าถึงการคัดกรองพัฒนาการ DSPM ร้อยละ 82.7 พบเด็กมีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 11.61 ซึ่งค่อนข้างสูงที่สุดในอำเภอระโนด จากการวิเคราะห์ปัญหา พบว่าผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ๐ – 5 ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังไม่เห็นความสำคัญ ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง ได้เล็งเห็นความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว  จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง-ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ขึ้น โดยบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ช่วยกันเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้ได้รับการตรวจคัดกรองครอบคลุมมากขึ้น และผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กมากขึ้น รวมทั้งสามารถช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่าง ๆ ให้เข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็วขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงการตรวจคัดกรองพัฒนาการด้วยDSPM

 

2 ข้อที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่ผู้ดูแลเด็กและแกนนำสุขภาพในการเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี (ปี2567) ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จำนวน 84 คน ภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ได้แก่ ครู ศพด, อสม.แกนนำ,สมาชิก อบต.ในพื้น จำนวน 16 คน(1 มิ.ย. 2567-31 ส.ค. 2567) 0.00      
รวม 0.00
1 ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี (ปี2567) ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จำนวน 84 คน ภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ได้แก่ ครู ศพด, อสม.แกนนำ,สมาชิก อบต.ในพื้น จำนวน 16 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการคัดกรองพัฒนาการด้วย DSPM มากกว่าร้อยละ 95
  2. ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย และแกนนำสุขภาพ มีคะแนนความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการ  มากกว่าร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2567 13:16 น.