กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการสมวัย(เด็กปฐมวัย)
รหัสโครงการ 1/2561
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหลา
วันที่อนุมัติ 6 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 1 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 51,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหลา
พี่เลี้ยงโครงการ อารีย์ สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.882,100.31place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2560 31 มี.ค. 2561 51,120.00
รวมงบประมาณ 51,120.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 68 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญสำหรับทุกวัยโดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตเป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังพัฒนาอาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ดังนั้นควรกินอาหารให้ครบทั้ง ๕ หมู่แต่ละหมู่ให้หลากหลายปริมาณให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมเพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสติปัญญาและสุขภาพของเด็ก รวมทั้งพัฒนาการของเด็กเด็กที่กินอาหารครบ ๕ หมู่และมีความหลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม มีภาวะโภชนาการที่ดี จะมีการเจริญเติบโตดีการพัฒนาของสมองดีเด็กจะฉลาดเรียนรู้เร็วมีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลทำให้พัฒนาการของเด็กเหมาะสมตามวัยแต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอย่อมมีผลทำให้การพัฒนาของสมองไม่ดีไม่ฉลาดไม่อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวและเรียนรู้ช้าเป็นผลให้มีพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่นเนื่องจากการเจริญเติบโตทั้งด้านสมองและร่างกายสิ่งที่พบเห็นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหลา มีจำนวนเด็กทั้งหมด ๖๘ คนมีเด็กพัฒนาการตามเกณฑ์จำนวน ๔๗ คน เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินจำนวน ๘ คน เด็กน้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน ๘ คน และเด็กตัวเตี้ยจำนวน ๕ คนซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกาย แต่ผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่เพียงด้านร่างกายเท่านั้นยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยทำให้สติปัญญาต่ำเรียนรู้ช้าไม่สนใจสิ่งแวดล้อมเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ประสิทธิภาพการทำงานจะต่ำส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ด้วยสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหลา ต้องการอยากจะให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนมีภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการสมวัย (เด็กปฐมวัย)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ย. 60 - 1 มี.ค. 61 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัยแก่ผู้ปกครอง ครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ฝึกปฏิบัติในการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมตามวัย 68 51,120.00 -
รวม 68 51,120.00 0 0.00
  1. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัยแก่ผู้ปกครองครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบ
    อาหาร
  2. ฝึกปฏิบัติในการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมตามวัย
  3. ดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กเล็กทุก ๑ เดือน
  4. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงลงในสมุดทะเบียนเด็กและรายงานให้ผู้ปกครองทราบ
  5. จัดทำทะเบียนแยกเด็กที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน)และเด็กที่มีน้ำหนักน้อย (ผอม) แยกจากทะเบียนเด็กที่มีภาวะปรกติ
  6. ครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองร่วมกันดำเนินการแก้ไขเด็กที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน)และเด็กที่มีน้ำหนักน้อย (ผอม)
  7. ดำเนินการเช่นนี้ไปจนครบ ๓เดือน
  8. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแนบรายงานส่งผลให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
    ตำบลคลองหลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้ปกครอง ครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัย 2) ผู้ปกครองครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร สามารถจัดเมนูอาหารแก่เด็กเล็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย 3)ได้รับทราบถึงภาวะโภชนาการของเด็กเล็ก 4)เด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ(ผอม) ได้รับการดูแลและแก้ไข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2560 09:59 น.