กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ความดัน เบาหวาน หมู่ที่ 8 ตำบลจะแนะ ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2474-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.บ้านบือแต
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2567 - 28 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 23,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาสือลัม มะดาโอ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ เสรี เซะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.077,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 111 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยใช้แนวทางการดำเนินงานที่มีชื่อว่า “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” ซึ่งมีหลักการดำเนินงานคือ คัดกรองประชาชน 35 ปี ขึ้นไปและจำแนกเป็น กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย หลังจากนั้นดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3 อ.(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (สูบบุหรี่ สุรา) เพื่อควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้กระบวนการสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติโดยมุ่งเน้นที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคและมีการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ภายใต้ปรัชญาและแนวคิดหลักในการพัฒนาวิถีชีวิตไทยให้ห่างไกลและปราศจากปัจจัยเสี่ยง มีปัจจัยเสริมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันและสุขภาวะของทั้งสังคมให้สามารถลดโรคและภัยสุขภาพโดยให้ประชาชน รับรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงภาวะเสี่ยงสามารถปรับพฤติกรรมควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงได้ ปี 2566 ได้มีการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่ พบว่า มีประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 263 คน ได้รับการคัดกรอง 238 คน ร้อยละ 90.49 พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 41 คน ร้อยละ 17.22 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 71 คน ร้อยละ 29.83 เสี่ยงเบาหวานจำนวน 19 ร้อยละ 7.98 ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน 5 คน ร้อยละ 2.1 ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจำนวน 18 คน ร้อยละ 7.56

  มัสยิดบ้านบือรือแต ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพซึ่งจะเห็นว่ากลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป็นโรคยังมีปัญหาอยู่ คือกลุ่มที่ควบคุมโรคไม่ได้ระดับรุนแรงปานกลาง และระดับรุนแรงมาก ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ กลุ่มเสี่ยงก็จะกลายเป็นกลุ่มเป็นโรคกลุ่มที่เป็นโรคที่ควบคุมโรคไม่ได้ก็จะกลายเป็นกลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อน ส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และประเทศชาติ ดังนั้น มัสยิดบ้านบือรือแต และแกนนำ จึงเห็นความสำคัญของ“ ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี”และให้ความรู้รายบุคคลที่มุ่งเน้นในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพจึงได้นำมาบูรณาการร่วมกันเป็นกระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้ “ ปิงปองจราจรชีวิต7 สี” เป็นเครื่องมือในการจัดระดับความรุนแรงให้ความรู้รายบุคคลโดยการใช้กระบวนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกโรคเรื้อรังคลินิกให้คำปรึกษาและคลินิกไร้พุงโดยมีทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นที่ปรึกษาในการดูแลสุขภาพ และ อสม.เป็นเครือข่ายในการติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วย จึงได้จัดทำ “โครงการ 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ความดัน เบาหวาน ปี 2567” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 . เพื่อให้กลุ่มแกนนำชุมชน มีความรู้ และทักษะในการสื่อสาร การติดตามดูแลในการบูรณาการให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความรู้และทักษะที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างต่อเนื่อง 3. กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มป่วยที่ควบคุมโรคไม่ได้ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีผลตรวจสุขภาพที่ดีขึ้น จนทำให้เกิดเป็นหมู่บ้านจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ กลายเป็นกลุ่มปกติร้อยละ 60
        2. กลุ่มเสี่ยง ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการติดตามจาก อสม.และเจ้าหน้าที่ร้อยละ 95     3, กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามดูแลและส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2567 15:04 น.