กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองตากใบ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67L7487110
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองตากใบ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 80,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาริดา หลำเบ็ลส๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ ว่าที่ ร.ต.วินิจ เจตมหันต์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามากได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองตากใบ ได้ทำการสำรวจข้อมูลปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองตากใบ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคอ้วน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมออย่างต่อเนื่องและการดูแลสุขภาพจิต มีปัญหาผู้สูงอายุอาศัยอยู่บ้านตามลำพัง เนื่องจากประชากรวัยทำงานอพยพเข้าไปทำงานในเมือง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองตากใบ ได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมาโดยตลอด ได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่นการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต ส่งเสริมการออกกำลังกายถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม จัดกิจกรรมวันสำคัญ รดน้ำผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถือว่าการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุถือเป็นภารกิจหลักที่จะต้องดำเนินการอย่างเต็มที่อย่างต่อเนื่อง และควบคู่ไปกับกลุ่มอื่นๆ ในสังคม เช่น เด็ก เยาวชน และสตรี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในสังคมต่อไป เทศบาลเมืองตากใบ มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน ๒,๔๗๓ ราย (ข้อมูลจากงานทะเบียนและบัตรเทศบาลเมืองตากใบ ( ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ) คิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมด (ประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลที่มีจำนวน ๒๐,๐๖๕ คน) แยกเป็นผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน ๗๖ ราย ผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน ๑๑๗ ราย ผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน ๒,๒๘๐ ราย นับได้ว่าเทศบาลเมืองตากใบได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองตากใบ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้สูงอายุ จึงได้จัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้น โดยกิจกรรมส่วนใหญ่จะจัดภายในห้องประชุมตาบา อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา โดยใช้ชื่อโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองตากใบ ประจำปีงบประมาณ 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมได้ ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้นำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ ๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพื้นที่ทางสังคมในการทำกิจกรรมร่วมกัน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองตากใบ ประจำปีงบประมาณ 2567(3 มิ.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00        
รวม 0.00
1 พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองตากใบ ประจำปีงบประมาณ 2567 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมได้ ๒. ผู้สูงอายุมีความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ ๓. ผู้สูงอายุมีพื้นที่ทางสังคมในการทำกิจกรรมร่วมกัน นำไปสู่สุขภาพจิตและกายที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2567 16:12 น.